วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ปลาน้ำผึ้ง หรืออีดูด


ปลาน้ำผึ้ง หรืออีดูด




ชื่อสามัญ  Siamese algae eater

ชื่อวิทยาศาสตร์  Gyrinocheilus  aymonieri  (Tirant, 1883)

ลักษณะทั่วไปของปลาน้ำผึ้ง

              ปลาน้ำผึ้ง หรืออีดูด เป็นปลาประจำท้องถิ่นของไทย ในธรรมชาติเป็นปลาขนาดกลาง โตเต็มที่อาจยาวได้ถึง 20 เซนติเมตร มีรูปร่างยาวทรงกระบอก ปลาน้ำผึ้งเป็นปลาขนาดเล็กที่มีลักษณะลำตัวเรียวคล้ายทรงกระบอก ค่อนข้างเรียวไปทางโคนหาง ความยาวลำตัววัดจากจะงอยปากถึงโคนหางเป็น 4.5-5.4 เท่าของความกว้างลำตัว ส่วนหัวสั้น ด้านล่างของส่วนหัว และส่วนท้องแบนราบ ตาค่อนไปทางด้านบนของหัว ปากอยู่ด้านล่าง ลำตัวมีสีน้ำตาล บริเวณหลังมีแต้มสีดำ หรือน้ำเงิน ด้านข้างลำตัวของปลาวัยอ่อนมีแถบสีน้ำตาลเข้มพาดไปตามความยาวของลำตัว ครีบมีสีเหลือง หรือน้ำตาลพร้อมด้วยจุดสีดำเล็ก ๆ ครีบทุกครีบไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหลังมีก้านครีบ 13-14 อัน ครีบก้นมีก้านครีบ 8-9 อัน มีเกล็ดตามแนวเส้นข้างตัว 39-41 เกล็ด ปลาน้ำผึ้งพบมากทั้งแหล่งน้ำนิ่ง และน้ำไหล ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ริมฝีปากเปลี่ยนแปลงเป็นอวัยวะสำหรับการยึดเกาะ เหมือนปลาซัคเกอร์ ช่องเปิดเหงือกแต่ละข้างมีสองช่องสำหรับให้น้ำไหลผ่านใช้ในการหายใจ ผิดจากปากน้ำจืดชนิดอื่น ๆ ที่ดูดน้ำเข้าทางปาก และปล่อยออกทางเหงือก กินอาหารประเภท ตะไคร่น้ำ สาหร่ายบางชนิด เศษพืช และสัตว์เน่าเปื่อยเป็นอาหาร มีขนาดความยาว 20-26 เซนติเมตร

การแพร่กระจาย

                  ปลาน้ำผึ้งมีการแพร่กระจายตามแหล่งน้ำไหลทั่วไปทั้งในประเทศไทย พม่า ลาว กัมพูชามาเลเซีย และอินโดนีเซีย ในประเทศลาว พบที่หลวงพระบาง และ อ่างเก็บน้ำเขื่อนน้ำงึม  ในประเทศกัมพูชาพบบริเวณแม่น้ำโขงของกัมพูชา ในประเทศไทยพบแพร่กระจายอย่างกว้างขว้างทั่วไปในที่ราบลุ่มภาคกลาง โดยเฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยา บึงบอระเพ็ด พบมากที่สุโขทัย โดยเฉพาะในแม่น้ำยม และลำคลองสาขา แถบจังหวัดอีสาน พบมากในแม่น้ำโขง และทางภาคใต้ พบที่สงขลา




การเพาะพันธุ์ปลาน้ำผึ้ง

              การเพาะพันธุ์ปลาน้ำผึ้ง โดยใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ buserelin acetate ร่วมกับ ยาเสริมฤทธิ์ domperidone ฉีดปลาเพศเมีย ครั้งที่ 1 ในอัตราความเข้มข้น 10-15 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ร่วมกับ ยาเสริมฤทธิ์  10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ปลาเพศผู้ฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ 10 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ร่วมกับ ยาเสริมฤทธิ์  5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แม่ปลาสามารถวางไข่ภายในระยะเวลาประมา 4 ชั่วโมง หลังฉีดฮอร์โมน  ลักษณะไข่ปลาเป็นแบบไข่ลอย ไข่ฟักเป็นตัวอยู่ในระหว่าง 13 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิของน้ำ 27-28 องศาเซลเซียส มีอัตราการฟักเท่ากับ 30-50 เปอร์เซ็นต์ อนุบาลลูกปลาวัยอ่อนด้วยโรติเฟอร์ และไข่แดงบดละเอียด  ลูกปลามีลักษณะเหมือนตัวเต็มวัยเมื่ออายุ 17 วัน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น