วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

10 อันดับปลาสวยงามของไทยที่สวยที่สุด

10 อันดับปลาสวยงามของไทยที่สวยที่สุด


10 ปลากระเบนเสือดาว


ปลากระเบนลายเสือ (อังกฤษ: whipray หินอ่อน) เป็นปลากระเบนน้ำจืดชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Himantura oxyrhynchus อยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) รูปร่างเหมือนปลากระเบนชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน หางยาวโคนหางมีเงี่ยงแหลมมีพิษ 1 หรือ 2 ชิ้น ที่สามารถงอกใหม่ได้เมื่อหลุดหรือหักไป หางไม่มีริ้วหนังพื้นลำตัวด้านบนสีน้ำตาลเหลืองกลางหลังมีเกล็ดเป็นตุ่มหยาบ ๆ มีจุดดำคล้ายลายของเสือดาวกระจายอยู่ทั่วตัวไปจนปลายหาง อันเป็นที่มาของชื่อพื้นลำตัวด้านล่างสีขาวหากินตามพื้นท้องน้ำโดยอาหาร ได้แก่ ปลาขนาดเล็ก, สัตว์หน้าดินและสัตว์มีเปลือก จะว่ายขึ้นมาหากินบริเวณผิวน้ำบ้างเป็นบางครั้ง มีขนาดประมาณ 40 เซนติเมตร ปลากระเบนลายเสือเป็นปลาน้ำกร่อยที่พบอาศัยอยู่ค่อนมาทางน้ำจืด เป็นปลาที่พบน้อยพบได้ตามปากแม่น้ำเช่นปากแม่น้ำเจ้าพระยา, ปากแม่น้ำโขง, ทะเลสาบเขมร และพบได้ไกลถึงปากแม่น้ำบนเกาะบอร์เนียวของอินโดนีเซีย เป็นต้น แต่มีรายงานทางวิชาการว่าพบครั้งแรกที่ แม่น้ำน่าน เนื่องจากเป็นปลาที่มีลวดลายสวยงามจึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามที่มีราคาแพง แต่มักจะเลี้ยงไม่ค่อยรอดเพราะปลามักประสบปัญหาปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดหรือภาวะแวดล้อมในที่เลี้ยงไม่ค่อยได้



9 ปลากระแหทอง



 ชื่อสามัญ: Schwanenfeld ของ Tinfoil Barb ชื่อวิทยาศาสตร์: Barbodes schwanenfeldi ลักษณะทั่วไป: เป็นปลาน้ำจืดที่มีรูปร่างป้อมสั้นลำตัวแบนข้างหัวเล็กจะงอยปากสั้นทู่นัตย์ตาเล็กปากเล็กและอยู่ปลายสุดหนวดเล็กและสั้นมี 2 คู่เกล็ดมีขนาดใหญ่ครีบกระโดงหลังสูงและกว้างมีสีแดง ลำตัวเป็นสีขาวเงินและสีเหลืองปนส้ม ด้านหลังสีเทาปนเขียวแก้มสีเหลืองปนแดงขนาดของลำตัวความยาว 15-35 เซนติเมตรนิสัย: รักสงบอยู่รวมกันเป็นฝูงปราดเปรียวว่องไวไม่อยู่นิ่งชอบว่ายน้ำตลอดเวลาถิ่นอาศัย: พบทุกภาคใน ประเทศไทยทำให้มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป (ทะเลสาบสงขลาตอนใน) แม่น้ำตาปี ชาวใต้เรียกชื่อปลานี้ว่าปลากระทิงลายดอกไม้ อาหาร: พืชพันธุ์ไม้น้ำตัวอ่อนแมลงน้ำซากสัตว์และพืชที่เน่าเปื่อย



 8 ปลาตองลาย


ปลาตองลาย (อังกฤษ: ปลาตองลาย) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chitala blanci อยู่ในวงศ์ปลากราย (วงศ์ปลากราย) มีรูปร่างเหมือนปลาทั่วไปในวงศ์นี้ แต่มีส่วนหลังและหน้าผากลาดชันน้อยกว่าปลากราย (C. ornata) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกันสีลำตัวเป็นสีเงินแวววาว ลำตัวด้านท้ายมีลายจุดและขีดจำนวนไม่แน่นอนคาดเฉียงค่อนข้างเป็นระเบียบ มีขนาดประมาณ 60 เซนติเมตรใหญ่สุด 1 เมตร เป็นปลาที่พบได้เฉพาะแม่น้ำโขงและลำน้ำสาขาที่ไหลสู่แม่น้ำโขง โดยมีรายงานพบเมื่อปี พ.ศ. 2510 และมีรายงานพบที่แม่น้ำน่านด้วยเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งถือว่าเป็นมีแค่เพียงสองแหล่งนี้ในโลกเท่านั้น เป็นปลาที่หายากชนิดหนึ่ง โดยมีชื่อติดอยู่ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN Red List) เมื่อปี พ.ศ. 2537 ด้วยโดยอยู่ในระดับหายาก (R)[1]แต่ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยการเพาะขยายพันธุ์สำเร็จเป็นครั้งแรกที่สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดชัยนาท โดยพ่อแม่ปลาเป็นปลาที่จับมาจากแม่น้ำโขง เมื่ออายุประมาณ 1 ปีน้ำหนักประมาณ 100-120 กรัมใช้เวลาในการเลี้ยงประมาณ 3 ปีในตู้กระจก จนปลามีความสมบูรณ์เต็มที่เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์พบว่าตัวผู้มีน้ำหนัก 1.8 กิโลกรัมตัวเมียหนัก 2.1 กิโลกรัม โดยตัวผู้มีความยาวครีบท้องมากกว่าตัวเมียถึงสองเท่า



 7 ปลาทรงเครื่อง

ปลาทรงเครื่องปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Epalzeorhynchos สีอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลากาดำ (อี chrysophekadion) ซึ่งเป็นปลาในวงศ์และสกุลเดียวกัน แต่มีรูปร่างที่เพรียวยาวมีขนาดเล็กกว่ามาก สีลำตัวสีแดงอ่อนครีบหางสีแดงเข้มมีขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน 12 เซนติเมตรพบเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบนปัจจุบันเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้วจากธรรมชาติ (สูญพันธุ์ในป่า) เนื่องจากถูกคุกคามถิ่นที่อยู่อาศัยและถูกจับไปเป็นปลาสวยงาม ซึ่งปลาที่ขายกันในตลาดปลาสวยงามเป็นปลาที่เกิดจากการผสมเทียมทั้งสิ้น ปลาทรงเครื่องยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกในวงการปลาสวยงามเช่น "ฉลามทรงเครื่อง" หรือ "หมูทรงเครื่อง" เป็นต้น



 6 ปลากระทิงไฟ

ปลากระทิงไฟ (อังกฤษ: ไฟหนามปลาไหล) ปลาน้ำจืดพื้นเมืองของไทยชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mastacembelus erythrotaenia อยู่ในวงศ์ปลากระทิง (Mastacembelidae) มีรูปร่างเหมือนปลาในวงศ์นี้ทั่วไปกล่าวคือรูปร่างยาวคล้ายงูหรือปลาไหล แต่ท้ายลำตัวส่วนที่อยู่ค่อนไปทางหางจะมีลักษณะแบนข้าง และส่วนหัวหรือปลายปากจะยื่นยาวและแหลม จะงอยปากล่างจะยื่นยาวกว่าจะงอยปากบน ตามีขนาดเล็กครีบหลังครีบทวาร และหางจะเชื่อมต่อติดกันเป็นครีบเดียว โดยครีบหลังตอนหน้าจะมีขนาดเล็กมากและลักษณะเป็นหยักคล้ายกับฟันเลื่อย หากไม่สังเกตจะมองไม่เห็นโดยปลายหางมีลักษณะมนโค้งปลายค่อนข้างแหลม ไม่มีหนามใต้ตาเช่นปลากระทิงชนิดอื่น ๆ มีหนามแหลมขนาดเล็กตลอดทั้งความยาวลำตัวช่วงบนไว้เพื่อป้องกันตัว ปลากระทิงไฟจะมีรูปร่างป้อมแต่มีขนาดยาวกว่าปลากระทิง (เอ็ม armatus) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกันมีขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตรพบใหญ่ที่สุดถึง 1 เมตร พบได้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทุกประเทศจนถึงอินโดนีเซีย สำหรับในประเทศไทยพบได้ในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ในภาคกลางและภาคใต้



 5 ปลาฉลามหางไหม้

ปลาหางไหม้ (อังกฤษ: ฉลามบาลา) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Balantiocheilus ambusticauda ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae - Systomini มีรูปร่างคล้ายปลาตามิน (Amblyrhynchichthys truncatus) มีรูปร่างและทรวดทรงที่เพรียวยาวตาโตปากเล็กขยับปากอยู่ตลอดเวลา ใต้คางมีแผ่นหนังเป็นถุงเปิดออกด้านท้าย ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย เกล็ดมีขนาดเล็กสัดส่วนของครีบทุกครีบเหมาะสมกับลำตัว โดยเฉพาะครีบหางซึ่งเว้าเป็นแฉกลึกสีของลำตัวเป็นสีเงินแวววาวด้านหลังสีเขียวปนเทาครีบหลังครีบท้องครีบก้นและครีบหางสีส้มแดงและขอบเป็นแถบดำอันเป็นที่มาของชื่อว่ายน้ำได้ ปราดเปรียวมากและกระโดดขึ้นได้สูงจากน้ำมากมีขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน 20 เซนติเมตรนิยมอยู่เป็นฝูงหากินตามใต้พื้นน้ำ ในอดีตพบชุกชุมในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในประเทศไทยในต่างประเทศพบได้ที่เกาะบอร์เนียวประเทศอินโดนีเซีย (ปลาที่พบในอินโดนีเซียสีของครีบหางจะออกเหลืองสดกว่า) แต่สถานภาพในปัจจุบัน ในประเทศไทยได้สูญพันธุ์ไปแล้วจากธรรมชาติ ในอินโดนีเซียก็ใกล้จะสูญพันธุ์เช่นกัน



 4 ปลากระดี่มุก

ปลากระดี่มุกปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichogaster leeri ในวงศ์ปลากัดปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระดี่หม้อ (T. trichopterus) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่กระดี่มุกมีลำตัวกว้างกว่าเล็กน้อย ครีบหลังครีบหาง และครีบก้นมีขนาดใหญ่และมีก้านครีบอ่อนยาวเป็นเส้นริ้ว ลำตัวสีเงินจางมีแถบสีดำจางพาดยาวไปถึงโคนครีบหางท้องมีสีส้มหรือสีจาง และมีจุดกลมสีเงินมุกหรือสีฟ้าเหลือบกระจายไปทั่ว อันเป็นที่มาของชื่อ "กระดี่มุก" ครีบท้องเป็นสีส้มสดหรือสีเหลืองมีความยาวเต็มที่เฉลี่ย 10-12 เซนติเมตร มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่เป็นคู่หรือกลุ่มเล็ก ๆ ในแหล่งน้ำที่มีค่าของน้ำมีความเป็นกรดต่ำกว่าค่าของน้ำปกติ (ต่ำกว่า 7.0) เช่นในป่าพรุเป็นต้น เป็นปลาจำพวกปลากระดี่ที่พบในธรรมชาติได้น้อยที่สุดในประเทศไทย โดยจะพบในเฉพาะพื้นที่ภาคกลางและภาคใต้ตอนล่างเท่านั้น นิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงามโดยเฉพาะในตู้ไม้น้ำ



 3 ปลากัดไทย

ปลากัดภาคกลางหรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่าปลากัดเป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta splendens อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae มีรูปร่างเพรียวยาวและแบนข้างหัวมีขนาดเล็กครีบก้นยาวจรด ครีบหางหางแบนกลม มีอวัยวะช่วยหายใจบนผิวน้ำได้โดยใช้ปากฮุบอากาศโดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป เกล็ดสากเป็นแบบ ctenoid ปกคลุมจนถึงหัวริมฝีปากหนาตาโตครีบอกคู่แรกยาวใช้สำหรับสัมผัส ปลาตัวผู้มีสีน้ำตาลเหลือบแดงและน้ำเงินหรือเขียว ครีบสีแดงและมีแถบสีเหลืองประ ในขณะที่ปลาตัวเมียสีจะซีดอ่อนและมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่ามากจนเห็นได้ชัด ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 6 เซนติเมตร พบกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำนิ่งที่มีขนาดตื้นพื้นที่เล็กทั้งในภาคกลางและภาคเหนือในประเทศไทยเท่านั้น สถานะปัจจุบันในธรรมชาติถูกคุกคามจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปและสารเคมีที่ตกค้าง มีพฤติกรรมชอบอยู่ตัวเดียวในอาณาบริเวณแคบ ๆ เพราะดุร้ายก้าวร้าวมากในปลาชนิดเดียวกัน ตัวผู้เมื่อพบกันจะพองตัวพองเหงือกเบ่งสีเข้ากัดกันซึ่งในบางครั้งอาจกัดได้จนถึงตายเมื่อผสมพันธุ์ ตัวผู้จะเป็นฝ่ายก่อหวอดติดกับวัสดุต่าง ๆ เหนือผิวน้ำไข่ใช้เวลาฟัก 2 วัน โดยที่ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลไข่และตัวอ่อนเอง โดยไม่ให้ปลาตัวเมียเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย



 2 ปลาเสือตอ


ปลาเสือตอลายใหญ่ (อังกฤษ: ปลาเสือตอลายใหญ่) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Datnioides พูลเชอเป็นปลาที่อยู่ในวงศ์ปลาเสือตอ (Datnioididae) มีรูปร่างแบนข้างปากยาวสามารถยืดได้ครีบก้นเล็กมี ก้านครีบแข็ง 3 ชิ้นครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอนตอนแรกเป็นก้านครีบแข็งมีเงี่ยง 13 ชิ้นตอนหลังเป็นครีบอ่อน พื้นลำตัวสีเหลืองน้ำตาลจนถึงสีส้มอมดำ มีแถบสีดำคาดขวางลำตัวในแนวเฉียงรวมทั้งสิ้นประมาณ 5-6 แถบหรือ 7 แถบส่วนหัวมีลักษณะลาดเอียงมากเกล็ดเป็นแบบสาก (ctenoid) มีลักษณะนิสัยอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ ใต้น้ำ โดยมักจะอาศัยบริเวณใกล้ตอไม้หรือโพรงหินด้วยการอยู่ลอยตัวอยู่นิ่งๆ หัวทิ่มลงเล็กน้อยหากินในเวลากลางคืนโดยกินอาหารแบบฉกงับอาหาร ได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็กและแมลงต่างๆมีขนาดลำตัวโตสุดประมาณ 40 เซนติเมตรหนักถึง 7 กิโลกรัม อาศัยอยู่ตามแม่น้ำสายใหญ่ในภาคกลางของประเทศไทย เช่นแม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำแม่กลอง, แม่น้ำท่าจีนในภาคอีสานเช่นแม่น้ำโขงและสาขาต่างประเทศพบที่กัมพูชาและเวียดนาม โดยเฉพาะทื่บึงบอระเพ็ดเป็นที่ขึ้นชื่อมากเพราะมีรสชาติอร่อย กล่าวกันว่าใครไปถึงบึงบอระเพ็ดแล้วไม่ได้กินเสือตอถือว่าไปไม่ถึง แต่ปัจจุบันไม่มีรายงานการพบมานานแล้ว จนเชื่อว่าสูญพันธุ์จากธรรมชาติแล้วในประเทศไทย



 1 ปลาตะพัด

ปลาตะพัดหรือที่นิยมเรียกว่าอะโรวาน่าเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ที่มีการสืบสายพันธุ์มาจากปลาในยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Arowana (อะโรวาน่า) หรือ Arawana (อะราวาน่า) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Scleropages formosus อยู่ในวงศ์ปลาตะพัด (Osteoglossidae) นับว่าเป็นปลาที่ใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ เนื่องจากเป็นปลาที่สืบพันธุ์ยาก ประกอบกับแหล่งที่อยู่ถูกทำลายไปได้รับความนิยมอย่างสูงของนักเลี้ยงปลาตู้ ในฐานะของปลาสวยงามราคาแพงสำหรับชื่อ "ตะพัด" เป็นชื่อที่เรียกกันในภาคตะวันออกแถบจังหวัดจันทบุรีและตราด ในภาคใต้จังหวัดสุราษฎร์ธานีจะเรียกปลาชนิดนี้ว่า "หางเข้" ถูกค้นพบเป็นทางการครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2474 ตามรายงานของสมิ ธ ที่ลำน้ำเขาสมิงจังหวัดตราดโดยระบุว่าในขณะนั้น ปลาตะพัดเป็นปลาที่พบได้ทั่วไปในแม่น้ำลำคลองในภาคตะวันออก ไข่มีลักษณะสีส้มลูกกลมใหญ่ฟักไข่ในปากเนื้อมีรสชาติอร่อยนิยมใช้ทำเป็นอาหารในปัจจุบันสำหรับประเทศไทย เชื่อว่าเหลือเพียงบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสงและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองยัน ซึ่งเป็นต้นแม่น้ำตาปีและบริเวณแม่น้ำที่อำเภอละงูจังหวัดสตูลเท่านั้น ส่วนทางภาคตะวันออกที่เคยชุกชุมในอดีต ไม่มีรายงานการพบอีกเลย อีกที่หนึ่งที่ได้เคยได้ชื่อว่ามีปลาตะพัดชุกชุมคือ บึงน้ำใสอำเภอรามันจังหวัดยะลา ในอดีตเป็นแหล่งจับปลาตะพัดที่มีชื่อเสียงมาก จนมีชื่อปรากฏในคำขวัญประจำอำเภอโดยชาวบ้านจะเรียกปลาชนิดนี้ว่า "กรือซอ" แต่จากการจับอย่างมากในอดีตทำให้ในปัจจุบัน ปริมาณปลาตะพัดลดน้อยลงจนแทบจะสูญพันธุ์

วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การหาปลากัดลูกทุ่ง

ปลากัดลูกทุ่ง
หลังจากห่างหายกันมานานวันนี้เราก็มากลับมาพบเจอกันอีกครั้งวันนี้เราก็จะมาพูดถึง . . . ปลากัดลูกทุ่ง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ปลากัดลูกป่า" เป็นปลากัดที่มีลำตัวค่อนข้างเล็กบอบ บางสีน้ำตาลขุ่น หรือเทาแกมเขียว ปลากัดชนิดนี้บรรดานักเลงปลากัด หรือชาวบ้านชนบทส่วนมากแล้วก็นิยมเลี้ยงไว้เพื่อกัดแข่งขันเหมือนกัน






. . . ถึงแม้ปลากัดลูกทุ่งหรือลูกป่านี้จะกัดไม่ทนเหมือนปลาหม้อและลูกผสมก็ตาม แต่ก็น่าเลี้ยงน่าเล่นอยู่ไม่น้อยเช่นกัน โดยเลี้ยงไว้กัดกับปลาลูกป่าด้วยกัน เมื่อเก่งกัดชนะก็เก็บไว้เลี้ยงเพาะพันธุ์เอาลูกปลากัดคราวต่อๆไป แต่ถ้าแพ้ก็ปล่อยไป หาตัวใหม่มาเลี้ยงทดแทน ทั้งนี้เพราะว่าเป็นปลาที่หาง่าย ซึ่งมีอยู่เกือบทุกถิ่นทั่วไปนั่นเอง


. . . ถึงแม้ปลากัดลูกทุ่งหรือลูกป่านี้จะกัดไม่ทนเหมือนปลาหม้อและลูกผสมก็ตาม แต่ก็น่าเลี้ยงน่าเล่นอยู่ไม่น้อยเช่นกัน โดยเลี้ยงไว้กัดกับปลาลูกป่าด้วยกัน เมื่อเก่งกัดชนะก็เก็บไว้เลี้ยงเพาะพันธุ์เอาลูกปลากัดคราวต่อๆไป แต่ถ้าแพ้ก็ปล่อยไป หาตัวใหม่มาเลี้ยงทดแทน ทั้งนี้เพราะว่าเป็นปลาที่หาง่าย ซึ่งมีอยู่เกือบทุกถิ่นทั่วไปนั่นเอง
. . . สำหรับการจับปลากัดลูกทุ่งนี้ไม่ยากเย็นอะไรนัก โดยเฉพาะในฤดูฝนหน้าทำนาของชาวชนบทแล้วจะมีน้ำขังเอ่ออยู่ตามบึง คลอง หนองทั่วๆ ไป และ ในช่วงฤดูนี้เองปลากัดจะทำหวอดเกาะตามพันธุ์ไม้น้ำในแหล่งน้ำนั้นๆ และเท่าที่เคยพบปลากัด ส่วนมากไม่ชอบทำหวอดอยู่ในบริเวณน้ำลึก แต่มันจะทำหวอดอยู่ตามริมบึงริมหนองน้ำที่มีน้ำตื้นๆ หรือ ไม่ก็ตามบ่อรอยเท้าควายก็มี ซึ่งหวอดปลากัดนี้มีลักษณะคล้ายน้ำลายคนนี้เอง โดยที่มันจะพ่นน้ำลายของมันรวมกันเข้ามากๆ กระทั่งเป็นฟองสูงเหนือน้ำขึ้นมาพอสมควร อีกทั้งหวอดนี้เหนียวมาก มันจะเป็นฟองเกาะกันอยู่ได้เป็นเวลานานทีเดียว ถึงแม้ฝนจะตกลงมาถูกแต่หวอดปลากัดก็ไม่ละลาย เมื่อเราเดินหา ไปตามบ่อ บึง คลอง หรือหนองน้ำและเห็นว่าหวอดปลากัดอยู่ที่ใดหรือ ถ้าสังเกตุให้ดีก็จะเห็นตัวปลากัดว่ายวนเวียนอยู่ในที่นั้นด้วย
. . . เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เป็นการง่ายที่เราจะจับเป็นอย่างยิ่ง โดยใช้สวิงหรืออื่นๆ ช้อนจับ หากไม่ชำนาญจับด้วยมือเปล่าเหมือนเช่นชาวชนบทและ เมือช้อนปลากัดได้แล้วก็เอาใส่ภาชนะ ที่เตรียมไปนำกลับบ้านมาใส่ขวดเลี้ยงไว้ และคัดเลือกไว้แข่งขันต่อไป การคัดเลือกหาพันธุ์ปลากัดลูกทุ่งเพื่อให้ได้ปลากัดที่กัดเก่ง เป็นเลิศในบรรดาปลากัดลูกทุ่งด้วยกันแล้ว

ตามตำราโบราณได้กล่าวไว้ว่า
ปลากัดลูกทุ่งที่มีประวัติการกัดเก่งนั้นจะต้องมีรูปปลาช่อนลำตัวกลมยาว โคนหางใหญ่

ส่วนปลายหางเป็นรูปใบโพธ นับเป็นปลากัดที่กัดเก่งเป็นเลิศในบรรดาปลากัดลูกทุ่งด้วยกัน

นักเล่นปลากัดไม่นิยมนำปลากัดลูกทุ่งใช้กัดแข่งขันกันแต่อย่างใด เพราะปลากัดลูกทุ่ง
ย่อมไม่มีวันชนะปลากัดลูกหม้อได้แน่นอน เว้นแต่ปลากัดลูกทุ่งตัวนั้นจะกัดเก่งจริงๆ

วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เทคนิคการเลี้ยงกุ้งเครฟิช





   แต่เดิมคนไทยที่คิดจะเลี้ยงกุ้งเครฟิสมาเลี้ยงในตู้ปลาเป็นกุ้งสวยงามจะต้องมีการสั่งนำเข้ามาจากต่างประเทศซึ่งมีราคาสูงมาก อีกทั้งยังพบปัญหาในการรอดต่ำ คุณมาโนช ลักษณกิจ ชาวอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ หนึ่งในผู้มีประสบการณ์ในการเพาะขยายพันธุ์ปลารันชู, กุ้งแคระและกุ้งเครฟิส ทำให้ราคาซื้อ-ขายกุ้งเครฟิสที่เพาะขยายพันธุ์ได้ในบ้านเรามีราคาถูกลงมาถึง 1-2 เท่าตัว คุณภาพของกุ้งไม่แพ้ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ คุณมาโนช ได้ให้คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับผู้สนใจที่คิดจะเลี้ยงกุ้งเครฟิสเป็นกุ้งสวยงามควรจะเริ่มต้นเลี้ยงกุ้งสวยงามที่เลี้ยงง่ายก่อน เช่น กุ้งบลูล็อบเตอร์หรือกุ้งมังกรฟ้า ซึ่งเป็นกุ้งล็อบเตอร์น้ำจืด เลี้ยงกุ้งชนิดนี้ให้เกิดความชำนาญเสียก่อนและค่อยมาเลี้ยงกุ้งเครฟิสสายพันธุ์อื่นต่อไป

    สำหรับวิธีการเลี้ยงกุ้งเครฟิสในตู้  เลี้ยงปลา ควรจะใช้ตู้ที่มีขนาด 24 นิ้วขึ้นไปและมีระบบกรองน้ำในตัว ในแต่ละตู้จะเลี้ยงกุ้งชนิดนี้เพียง 1-2 ตัวเท่านั้น เนื่องจากนิสัยของกุ้งเครฟิสจะคล้ายกับปลาหมอสี ที่มักจะหวงถิ่นและชอบรังแกตัวที่อ่อนกว่า บางครั้งพบการกินกันก็มี ตู้ปลาควรรองพื้นตู้ด้วยก้อนกรวดหินสีต่าง ๆ สำหรับผู้เลี้ยงที่รักศิลปะอาจจะเลือกสีของกรวดให้ตัดกับตัวกุ้งเครฟิสก็ได้ พันธุ์ไม้น้ำไม่เหมาะที่จะนำมาใส่ไว้ในตู้เพราะกุ้งเครฟิสจะใช้ก้ามตัดและรื้อทำลายจนหมดควรหากระถางหรือแจกันดินเผาหรือท่อ PVC หรือขอนไม้เพื่อให้กุ้งได้เป็นที่หลบซ่อนตัว
    อาหารหลักที่ใช้เลี้ยงกุ้งเครฟิสจะใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูปประเภทอาหารจม และควรจะเสริมด้วยอาหารสด เช่น หนอนนก เพื่อเพิ่มโปรตีนช่วยให้กุ้งมีสีสด โตเร็วและก้ามโต แต่ข้อควรระวังในการใช้อาหารสดคือน้ำที่ใช้เลี้ยงอาจจะเสียได้ จะต้องหมั่นเปลี่ยนถ่ายน้ำโดยในการเปลี่ยนแต่ละครั้งควรเปลี่ยนน้ำเก่าออกประมาณ 20-30% ของตู้แล้วเติมน้ำสะอาดใหม่ลงไปทดแทนถ้าใช้น้ำคลอรีนควรพักน้ำในบ่อนานประมาณ 7-10 วัน

    คนที่เลี้ยงกุ้งเครฟิสจะหลงเสน่ห์ของกุ้ง  สวยงามชนิดนี้ ผู้เลี้ยงจะได้เห็นพัฒนาการของกุ้งในแต่ละช่วงชีวิต ตั้งแต่ลูกกุ้ง, หลังการลอกคราบทุกครั้ง  ขนาดของตัวกุ้งจะใหญ่ขึ้นและมีสีสันที่เปลี่ยนไป เสน่ห์อยู่ตรงที่ผู้เลี้ยงจะได้ลุ้นว่าตัวกุ้งจะขนาดใหญ่ขึ้นเท่าไรและสีสวยสดมากขึ้นหรือไม่ ในการเลี้ยงกุ้งเครฟิสนั้นมักจะนิยมเลี้ยง 1 ตัวต่อ 1 ตู้ก่อนและหากุ้งตัวที่ 2 มาใส่ลงเลี้ยงทีหลังและใน 2 ตัวจะต้องเป็นตัวผู้และตัวเมียอย่างละตัว ช่วงแรกหมั่นสังเกตว่ากุ้งทั้ง 2 ตัว เข้าคู่กันได้หรือไม่ ถ้าเข้ากันได้ในอนาคตจะมีโอกาสผสมพันธุ์กัน ในกรณีที่ผสมพันธุ์กันสำเร็จตัวเมียจะมีไข่ให้แยกเอาตัวผู้ออกมาจากตู้ เมื่อไข่ฟักออกเป็นลูกกุ้งให้แยกลูกกุ้งออกมา (พ่อ-แม่จะกินลูกกุ้ง) ให้เอาลูกกุ้งไปอนุบาลต่างหาก ปัจจุบันกุ้งเครฟิสจะแยกได้ 2 กลุ่มตามลักษณะของก้าม คือ กลุ่มก้ามหนามและ กลุ่มก้ามโตราคาซื้อ-ขายในปัจจุบันถูกลงมา เช่น บลูล็อบเตอร์เหลือตัวละ 40-60 บาทขนาดลำตัวครึ่งนิ้ว.

วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ปลาคาร์พดี มีฮวงจุ้ย




บทความของผมฉบับที่แล้วเขียนเรื่องเกี่ยวกับปลาทองที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทย ฉบับนี้ก็ยังคงเป็นเรื่องเกี่ยวกับปลาสวยงามเช่นเคย มาดูเรื่องปลาคาร์ฟกันบ้าง แต่ไม่ใช่เรื่องมาตรฐานครับ  ฉบับนี้ขอเอาใจคนที่มีความเชื่อเรื่องดวง เรื่องฮวงจุ้ย โชคลาภต่างๆ ว่าเลี้ยงปลาคาร์พสีอะไร เลี้ยงจำนวนกี่ตัว เลี้ยงตรงไหน เลี้ยงอย่างไรถึงจะเข้าตำรา ส่วนตัวผู้เขียนเองที่บ้านเลี้ยงปลาคาร์พเหมือนกันครับ ในบ่อขนาดประมาณ 10 ตารางเมตร มีปลาคาร์พอยู่ 13 ตัว แต่เลข 13 ดูแล้วหวิวๆ ยังไงก็ไม่รู้ ก็เลยซื้อเพิ่มมาอีก 4 ตัว ให้ลงท้ายด้วยเลข 7 ก็เพื่อให้เข้าตำราหน่อยแหละครับ จะว่าผมงมงายก็คงไม่ใช่นะครับ ปกติผมก็ชอบปลาชนิดนี้อยู่แล้วแค่ซื้อเพิ่มมาอีกหน่อยให้มันเข้ากับตำราอีกสักนิด เพื่อความสบายใจก็คงไม่เป็นไรใช่มั้ยครับ
    ตามหลักฮวงจุ้ยหรือโหราศาสตร์ของจีนมักให้ความสำคัญกับธรรมชาติเป็นหลัก เพราะเชื่อว่าทุกสิ่งบนโลกล้วนเกี่ยวข้องกัน มีพลังธาตุหมุนเวียนและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา (ทำให้นึกถึงหนังจีนนะครับเวลาพระเอกจะฝึกวิทยายุทธ  ส่วนใหญ่จะนำพลังจากร่างกายไปเกี่ยวข้องกับธรรมชาติ แล้วก่อให้เกิดกำลังภายในที่แกร่งกล้า  เอ๊ะ  ดูหนังจีนมากไปหรือเปล่า) ผมเคยได้ยินคนเฒ่าคนแก่สมัยก่อนบอกว่า ถ้าที่บ้านมีตุ่มหรือที่เก็บน้ำ ต้องอย่าให้น้ำแห้งเชียวนะ ต้องเติมให้เต็มแล้วเงินทองจะไหลมาเทมา ทำให้กิจการค้าขายเจริญรุ่งเรือง เออ...ปกติที่บ้านผมมีอ่างน้ำ ผมเติมเต็มทุกวันเลยน่ะ แต่เอ๊ะ ทำไมเงินทองถึงไม่ยอมไหลมาเทมาสักที ไม่ใช่ครับไม่ใช่อย่างนั้น ความหมายของคนโบราณ การเติมน้ำให้เต็มนั้นเขาหมายถึงความขยันครับ เราต้องเป็นคนที่ขยันแล้วเงินทองจะไหลมาเทมา ไม่เชื่อลองทำดูสิครับ
ปลาย่อมคู่กับน้ำ เมื่อมีบ่อน้ำ แต่ไม่มีปลาแหวกว่ายมันก็ดูเหมือนขาดอะไรไป ไม่มีชีวิตชีวา ผมอยากแนะนำให้ผู้อ่านที่มีอ่างน้ำ หรือบ่ออยู่แล้ว หันมาเลี้ยงปลาคาร์พกัน หลายคนคงจะบอกว่าปลาคาร์พตัวหนึ่งราคาตั้งหลายพันไปจนถึงหลักล้าน ใครจะมีเงินขนาดนั้น ไม่ว่าจะเป็นปลาชนิดใดก็มีการแบ่งเกรดด้วยกันทั้งนั้น เราก็เลือกอย่างที่ราคาถูกหน่อยสิครับ เพราะเราไม่ได้เลี้ยงเพื่อนำไปประกวด ไม่ได้ชอบถึงขนาดเลี้ยงเป็นบ่อขนาดใหญ่อย่างตามฟาร์มเขา แค่เลี้ยงเป็นเคล็ด เพื่อความเพลิดเพลิน เสริมโชคลาภก็พอ
ในการเลี้ยงปลาคาร์พในบ่อ สิ่งที่เราต้องคำนึงเป็นอันดับแรกเลยคือ ความหนาแน่นของจำนวนปลา เพื่อที่ว่าเมื่อปลาคาร์พตัวใหญ่ขึ้น มันจะได้ไม่เบียดเสียดกันจนเกินไป การว่ายน้ำจะเป็นไปด้วยความพลิ้วไหว เหมือนดั่งกิจการที่ราบรื่น ดูเป็นธรรมชาติ เกิดความสมดุล มีการเคลื่อนไหวในน้ำตลอดเวลา ปลาคาร์พเป็นปลาที่ชาวจีน รู้จักกันมานานนับพันปีแล้ว สมัยก่อนมักจะถูกเลี้ยงไว้ตามสระน้ำในพระราชวัง ด้วยความที่มีหลายสี เช่น สีดำ สีส้ม สีขาว และสีส้มแดง ในตัวเดียวกัน ซึ่งถือเป็นปลามงคล มีเพียงกษัตริย์เท่านั้นที่สามารถเลี้ยงได้ ต่อมามีคนแอบลักลอบนำออกจากวัง ไปเลี้ยงจนออกลูกออกหลาน แพร่หลายเหมือนทุกวันนี้
     หลักฮวงจุ้ยของคนจีนส่วนใหญ่จะชอบเลข 3...5...6....7...9  ดังนั้นการเลือกจำนวนปลาคาร์พในการเลี้ยง ควรจะเลือกให้เหมาะสมกับขนาดบ่อหรือภาชนะเลี้ยง อย่างเช่น บ่อที่มีความกว้าง 1 x 1 เมตร เราก็เลี้ยงเพียง 3 ตัว บ่อขนาด 1.5 x 3 เมตร เลี้ยงแค่ 9 ตัว  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ไม่จำเป็นต้องตามหลักทุกอย่าง เพราะหลักธรรมชาติไม่มีกฎเกณฑ์เป็นแค่ความเชื่อที่คนเขาทำแล้วดีและบอกต่อๆกันมา
สำหรับสีของปลาคาร์พ แน่นอนอยู่แล้วว่าคนจีนจะนิยมสีแดง เป็นสีแห่งโชคลาภ เราสังเกตได้ว่าเทศกาลตรุษจีน งานแต่งงาน หรืองานมงคล ของตกแต่งทุกอย่างล้วนมีสีแดงเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่สีของปลาคาร์พคงไม่มีตัวไหนหรอกที่เป็นสีแดงเข้มทั้งตัว มีแค่ส้มแดงบ้าง สลับขาวบ้าง หรือไม่ก็เป็นสีเหลือแดง
     ฉะนั้น การเลือกปลาคาร์พเพื่อเสริมฮวงจุ้ย เราไม่จำเป็นต้องเลือกสีเดียว ขอแค่มีสีแดงบนลำตัวก็พอแล้ว พอได้ปลาครบตามจำนวนที่เหมาะสมกับขนาดบ่อเลี้ยงแล้ว เราก็มาดูเรื่องระบบกรอง บ่อปลาคาร์พควรทำบ่อกรองน้ำด้วยเพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง อุปกรณ์ที่ใช้กรองใช้พวกเปลือกหอย เศรษฐกิจ อวน และฟองน้ำ ใยแก้ว ส่วนที่เป็นบ่อกรองถ้าปล่อยไว้เฉยๆ เดี๋ยวจะดูไม่สวยเราก็ต้องตกแต่งด้วยต้นไม้หรือนำพวกเครื่องปั้นดินเผามาประดับเสริมเข้าไป เพื่อปกปิดจุดด้อยในบ่อปลาให้ดูสวยงามขึ้น แต่ถ้าอยากเลี้ยงแบบไม่ใช้ระบบกรองให้เหมือนตามธรรมชาติ เราก็ทำได้โดยการปลูกต้นไม้น้ำประเภทที่ใบเหนือน้ำหรือปริ่มน้ำเพื่อช่วยเพิ่มออกซิเจน เช่น พวกบัวหลวง อเมซอน บัวสีต่างๆ ปลูกใส่กระถางดินเผาแช่ไว้ในน้ำ จะทำให้บ่อดูเป็นธรรมชาติ มีทั้งธาตุน้ำ ธาตุไม้ ยังช่วยบังแสงแดดไม่ให้น้ำมีอุณหภูมิสูงเกินไปด้วย แต่ที่สำคัญถ้าไม่มีระบบกรองก็ต้องไม่ปล่อยปลาที่หนาแน่นนะครับ
     ส่วนการให้อาหารเม็ดควรให้ปลาสามารถกินหมดทันที ไม่ควรให้ทีละมากๆ วันละ 2-3 ครั้งก็พอ เพื่อไม่ให้น้ำเสียง่าย เพราะเมื่อปลากินอาหารเข้าไปมาก มันก็จะถ่ายของเสียมากตามไปด้วย
     นี่เป็นหลักฮวงจุ้ยกับปลาคาร์พเล็กๆน้อยๆ ครับที่ผมนำมาฝาก เชื่อว่าหลายท่านคงจะเคยเห็นภาพเด็กอุ้มปลา หรือภาพวาดปลาคาร์พที่ว่ายวนเป็นกลุ่ม ตามร้านขายรูปภาพ และมีภาษาจีนเขียนไว้ว่า เหนียน เหนียน โหย่ว ยวี๋หรือ เหลียน เหนียน โหย่ว ยวี๋ตามภาพ แปลว่า ปลาและคำที่แปล เหลือจึงใช้ปลาเป็นสัญลักษณ์ของความสมบูรณ์ เหลือกินเหลือใช้ เมื่อรวมความทั้งหมดจะหมายถึง ทั้งปีเหลือกิน  เหลือใช้ มีมุมฮวงจุ้ยดีๆแล้วก็ต้องขยันทำงานด้วยนะครับ  เป็นคนดีของสังคม ประพฤติปฏิบัติตนแต่สิ่งดีๆ ผมขอรับรองครับไม่ต้องไปหาหมอดู ไม่ต้องไปเสริมดวงอะไรทั้งนั้น  เมื่อท่านทำได้แล้วสิ่งที่ดีๆจะเข้ามาในชีวตของเราเอง สิ่งที่ผมกล่าวมาแล้วข้างต้น เป็นความเชื่อส่วนบุคคลนะครับ ลองพิจารณาและนำไปปรับใช้ดู ถ้าทำแล้วสบายใจทำแล้วผู้อื่นไม่เดือดร้อนก็ไม่แปลกอะไรที่เราคิดจะทำจริงมั้ยครับ
ในฉบับนี้ผมก็ขอจบแต่เพียงเท่านี้ก่อนเอาไว้พบกันใหม่ในฉบับต่อไป...สวัสดีครับ

วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ปลาทองที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทย

           ปลาทองมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น ต่อมาถูกนำไปเลี้ยงในยุโรปเมื่อศตวรรษที่ 17 และถูกนำไปเผยแพร่ในอเมริกา ในศตวรรษที่ 19 ชาวจีนและชาวญี่ปุ่นรู้จักผสมพันธ์ปลาทองมานานแล้วและได้ปลาทองลูกผสมที่น่าสนใจ มีสีหลากหลายตั้งแต่สีแดง สีทอง สีส้ม สีเทา สีดำและสีขาว แม้กระทั่งปลาทองสารพัดสีในตัวเดียวกัน ปลาทองมีชีวิตอยู่ตามแหล่งธรรมชาติจนกระทั่งมีชาวจีนบางคนได้จับมาเลี้ยงตามบ่อเพราะดูหน้าตาสวยดี สีสันแปลกตา สร้างความเพลิดเพลินใจได้เป็นอย่างดี จึงเลี้ยงสืบต่อกันมาเรื่อย ๆ ทำให้มีการแปรผันผันแปร และพัฒนาเรื่อยมา ประกอบกับความนิยมเลี้ยงที่มีมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ปลาทองที่เลี้ยงมีรูปร่างหน้าตาเปลี่ยนแปรไป เช่น แต่เดิมปลาทองจะหาอาหารตามบ่อน้ำธรรมชาติเพื่อเลี้ยงชีวิตซึ่งต้องออกเรี่ยวออกแรง ไขมันส่วนเกินก็ไม่มี หุ่นก็เพรียวลม ครั้นย้ายมาอยู่ตามบ่อเลี้ยง อาหารปลาก็ถูกนำมาเสริฟกันถึงขอบบ่อ แถมเสริฟเป็นเวลาซะด้วย ทำให้ปลาทองบางตัวพุงป่องดูอ้วนตุ้ยนุ้ยขึ้นและหากลักษณะต่างๆดังกล่าวเกิดเป็นที่ประทับใจมนุษย์หรือคนดูคนชมว่าสวยแล้ว ก็จะถูกขุนขึ้นไปเรื่อยๆตามสูตร ปลาทองถูกมนุษย์เลี้ยงมาตั้งแต่อดีต ประมาณ พ.ศ. 1161-1450หรือนับเป็นพันปีมาแล้ว ปลาทองในสภาพธรรมชาติที่ไม่ได้ถูกมนุษย์นำมาเลี้ยงนั้นก็ได้พัฒนาตัวเอง ทำมาหากินตามธรรมชาติ สืบทอดสายพันธ์มาจนถึงปัจจุบัน ก็แทบจะเป็นคนละปลาเดียวกันกับปลาทองของวันนี้เลย เพราะเมื่อพิจารณาดูจะพบว่าปลาใน ปลาตะเพียนทั้งหลายต่างก็อยู่ในเทือกเขาเหล่าตระกูลเดียวกันกับปลาทอง คือ FAMILY CYYPRNDAE



ปลาทองหัวสิงห์จีน

ลักษณะเด่นของปลาพันธุ์นี้ คือ มีส่วนหัวที่ใหญ่กว่าลำตัวมาก ส่วนวุ้นที่หัวมีมากและหนาแน่นกว่าสิงห์สายพันธุ์อื่น ในประเทศญี่ปุ่นได้แยกลักษณะวุ้นบนส่วนหัวของปลาคือ วุ้นมีขนาดเท่ากันเกือบทั้งหมดบนหัวเรียกว่า ชิชิงาชิระ (Shishigashira) วุ้นมีมากเฉพาะกลางหัวเรียกว่า โทกิง (Tokin) วุ้นมีทั้งบนหัวและที่ฝาเหงือกทั้งสองข้างเรียกว่า โอคาเหมะ (Okame) แต่โดยทั่วไปนิยมเรียกปลาที่มีวุ้นบนหัวว่า รันชู (Ranchu) ส่วนหลังของปลาลาดโค้งเพียงเล็กน้อยและไม่มีครีบบนหลัง หางจะหนาและใหญ่กว่าสิงห์พันธุ์อื่นๆ ปลาส่วนมากมีสีแดง และโตตามขนาดบ่อที่เลี้ยงได้ประมาณ 20-25 ชม.




ปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่น
เป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากสิงห์จีนโดยประเทศญี่ปุ่น หลังของปลาจะโค้งมากกว่าสิงห์จีน มีวุ้นอยู่บนส่วนหัว แก้ม เหนือริมฝีปาก และที่คาง หลังของปลาจะต้องโค้งจนคนในวงการปลาเปรียบเทียบไว้ว่า หลังโค้งไข่ผ่าซีก ครีบหางต่อกับลำตัวเป็นมุมแหลมเฉียงขึ้น45 องศา ครีบทวารมีทั้งเดี่ยวและคู่ มีสีแดงและขาวสลับแดง




ปลาทองหัวสิงห์ลูกผสม (Hybrid lionhead)
เป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์ให้สวยขึ้นโดยประเทศไทย ซึ่งนำเอาจุดเด่นของปลาสิงห์จีนและญี่ปุ่นมารวมเข้าไว้ด้วยกัน เพราะปลาสิงห์ญี่ปุ่นเพาะพันธุ์ได้ค่อนข้างยาก และลูกปลาที่คัดแล้วมีความสวยงามเหมือนพ่อแม่ปลาจะมีน้อยมาก ทำให้ปลามีราคาสูง การนำปลาสิงห์จีนมาผสมข้ามพันธุ์กัน ทำให้ได้ลูกปลาที่ทรงสวยงามเพิ่มมากขึ้น สิงห์ลูกผสมจะมีวุ้นบนหัวน้อยกว่าสิงห์จีนเล็กน้อย แต่หลังจะโค้งมากกว่าจนเกือบใกล้เคียงสิงห์ญี่ปุ่น




  ปลาทองหัวสิงห์สยาม (Siamese lionhead)
เป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์ให้สวยขึ้นโดยประเทศไทย มีทรงและลักษณะเหมือนสิงห์ลูกผสม แต่มีสีทุกส่วนของลำตัวปลาเป็นสีดำทั้งหมด



ปลาทองสิงห์ตากลับ (Celestial goldfish)
 มีต้นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน เรียกว่า โซเตนกัน ญี่ปุ่นเรียกว่า เดเมรันชู ส่วนหัวของปลามีวุ้นเล็กน้อย ลำตัวและทรงคล้ายสิงห์จีน แต่มีลำตัวที่ยาวกว่าสิงห์จีนมาก มีสีแดง


 ปลาทองสิงห์ตาลูกโป่ง (Bubble eyes goldfish)
มีต้นกำเนิดอยู่ในประเทศจีนญี่ปุ่นเรียกว่า ซุอีโฮกัน ลำตัวและทรงคล้ายสิงห์จีน แต่ที่เบ้าตามีถุงน้ำขนาดใหญ่ดูคล้ายลูกโป่งติดอยู่ที่บริเวณใต้ตา ถุงน้ำใต้ตาปรกติจะโปร่งแสงและมีขนาดใกล้เคียงกัน ไม่มีครีบบนหลังปลา มีสีแดงและขาวแซมแดง


 ปลาทองฮอลันดาหัววุ้น (Dutch lionhead)
ญี่ปุ่นเป็นผู้เพาะพันธุ์ขึ้นมาใหม่ และเรียกว่า ออรันดาชิชิกาชิระ วุ้นบนส่วนหัวของปลาจะมีมาก และมองเห็นเป็นก้อนกลม มีครีบบนหลังปลา และครีบหางกางแผ่กว้างยาวกว่าปลาสิงห ์มีสีแดงและขาวสลับแดง


ปลาทองริวกิ้น (Ryukin)
เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันแพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นปลาที่มีรูปทรงและสีสันสวยงาม มีสีแดง ขาวสลับแดง และหลายสี ซึ่งนิยมเรียกว่าปลาริวกิ้น 5 สี เวลาว่ายน้ำท่าทางสง่างาม ลำตัวอ้วนสั้นเกือบเป็นทรงกลมหน้าแหลม โหนกหลังสูง ส่วนหัวไม่มีวุ้น เกล็ดหนา

ปลาทองตาโปน (Telescope eyes goldfish)
ญี่ปุ่นเรียกว่า เดเมคิน จีนนิยมเรียกว่า dragon eyes มีลักษณะเด่นคือมีลูกตายื่นออกไปด้านหน้าทั้งสองข้าง รูปทรงคล้ายปลาริวกิ้นมาก พันธุ์ที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทยคือ ปลาทองตาโปนญี่ปุ่น มีสีแดงตลอดทั้งตัว ญี่ปุ่นเรียกว่า อะคาเดเมะคิน (akademekin) ปลาทองตาโปนห้าสีมีสีแดง ดำ ขาว ส้ม และฟ้า ผสมกันในปลาตัวเดียว ญี่ปุ่นเรียกว่า ซันโดกุเดเมะคิน ปลาทองตาโปนพันธุ์เล่ห์ มีสีดำสนิททั้งตัว ญี่ปุ่นเรียกว่า คุโรเดเมะคิน และสามารถแบ่งออกเป็นสายพันธุ์ย่อยได้อีกตามลักษณะทรงของลำตัวและหาง คือ ลักเล่ห์กระโปรง ลักเล่ห์ตุ๊กตา ลักเล่ห์ควาย และลักเล่ห์หลังอูฐ


 ปลาทองเกล็ดแก้ว (Pearl scale goldfish)
ประเทศไทยสามารถเพาะพันธุ์ปลาเกล็ดแก้วหน้าหนู ส่งไปขายทั่วโลก ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นปลาทองที่มีลักษณะแตกต่างจากปลาพันธุ์อื่นๆ มีทรงอ้วนกลมกว่าพันธุ์ริวกิ้น เกล็ดตามลำตัวปลาเกือบทั้งหมดหนาและแข็งโปนออกมาจากลำตัว มี 3 สายพันธุ์ได้แก่ เกล็ดแก้วหน้าหนู เกล็ดแก้วหัววุ้น เกล็ดแก้วหัวมงกุฎ


ปลาทองโคเมทหรือปลาทองหางซิว (Comet)
เป็นปลาที่มีรูปทรงคล้ายปลาคร็าฟมากแต่มีหางที่ยาวกว่าปลาคร็าฟ ปลาพันธุ์นี้จะมีสีดังนี้คือ แดงทั้งตัว  แดงสลับขาว และห้าสีในปลาตัวเดียวคือแดง ดำ ขาว ส้ม ฟ้า
สำหรับฉบับนี้ก็จบแต่เพียงเท่านี้ก่อน  เอาไว้พบกันใหม่ในฉบับต่อๆไปครับ

วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ปลาก้างพระร่วง

เพื่อนๆทุกท่านครับ  ปลาสวยงามที่เลี้ยงในตู้กระจกนั้นมีมากมายหลายชนิด หลายประเภท แล้วแต่ความชอบของคนเลี้ยง ฉบับนี้ผม จะพาเพื่อนๆมารู้จักปลาสวยงามประเภทหนึ่ง เป็นปลาน้ำจืดได้แก่





 ชื่อไทย                  ปลาก้างพระร่วง
 ชื่ออังกฤษ            Glass Catfish
ชื่อวิทยาศาสตร์       Kryptopterus bicirrhis  
  ตระกูล                 ปลาเนื้ออ่อน ( Siluridae )
รูปร่างลักษณะ
- ลำตัวแบนข้าง ปลาก้างพระร่วงเป็นปลาที่มีลักษณะแปลก คือลำตัวโปร่งใสมองเห็นกระดูกภายใน
- มีหนวด 2 คู่ อยู่ที่ขากรรไกรบนและล่าง โดยหนวดคู่บนจะยาวกว่าหนวดคู่ล่างมาก
- ครีบหลังมีขนาดเล็กและสั้นมากแทบมองไม่เห็น
- ครีบทวารเป็นแนวยาวจรดโคนหาง หางมีลักษณะเว้าลึก
อุปนิสัย
- เป็นปลาที่รักสงบอยู่ร่วมกันเป็นฝูง เป็นปลาทีตกใจง่าย และชอบลอยตัวนิ่งๆเป็นปลาที่ชอบอยู่บริเวณน้ำไหล
การเลี้ยงดู
- ควรเลี้ยงดูเป็นฝูงใหญ่ ไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่น ที่มีความก้าวร้าวเพราะอาจถูกทำลายได้ และควรสร้างธรรมชาติใต้น้ำด้วยพรรณไม้น้ำจะทำให้ปลาสดชื่น แข็งแรง และมีชีวิตยืนยาว


อาหาร
- ปลาก้างพระร่วงกินหนอนแดง ไส้เดือน และตัวอ่อนแมลงน้ำขนาดเล็ก
เพื่อนๆครับ ผมคิดว่าเพื่อนๆคงจะเคยเห็นหรือรู้จักปลาก้างพระร่วง เพราะอาจจะกล่าวว่า ปลาก้างพระร่วง เป็นปลาที่ตัวใสที่สุดในโลก ก็ว่าได้ เพื่อนๆลองเลี้ยงดูสิครับ เลี้ยงง่าย เลี้ยงเป็นจำนวนเยอะๆ จะดูสวยงามมากครับ...


วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

โรคที่พบบ่อยในปลาปอมปาดัวร์(รวมถึงปลาสวยงามทั่วไป)



โรคจุดขาว
เกิดขึ้นจาก การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว ซึ่งเกิดจากสัตว์เซลล์เดียวที่นิยมเรียกกันสั้นๆว่า อิ๊ค ซึ่งตัวอ่อนจะฝังตัวอยู่บริเวณลำตัวรวมทั้งครีบต่างๆ ทำให้สังเกตุเห็นได้เป็นจุดขาวขนาดเล็กซึ่งจะลุกลามอย่างรวดเร็วจนทั่วตัวปลา เมื่อ อิ๊ค เติบโตเต็มที่จะหลุดออกจากตัวปลาซึ่งจะกระจายตัวอยู่ในน้ำและขยายพันธ์อย่างรวดเร็ว
อาการ ปลาที่ป่วยจะมีจุดสีขาวตามตัวและมีพฤติกรรมการว่ายน้ำผิดปกติ ใช้ตัวถูกับ หิน กระจกตู้ หรือวัสดุต่างๆภายในตู้ปลา ซึ่งอาจทำให้เกิดแผลทำให้ปลาขาดความสวยงามและเกิดโรคอื่นๆแทรกซ้อนได้
การรักษา นิยมใช้เกลือแกงซึ่งหาซื้อได้ตามตลาดทั่วไป ประมาณ 1 ช้อนโตะต่อน้ำ 30 ลิตร (หรือมาลาไคร์กรีนหรือซุปเปอร์อิ๊ค ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์และอาหารปลาทั่วไป) และ ใส่ฮีทเตอร์โดยให้อุณหภูมิอยู่ที่ 27-30 องศาเซียลเซียส เปลี่ยนน้ำทุกๆ 3วัน 30%ของตู้ปลา โดยค่อยๆเปิดเติมเพื่อให้ปลาปรับสภาพน้ำใหม่ ควรลดอาหารเพื่อไม่ให้ตู้สกปรกด้วย ประมาณ 2อาทิตย์ก็จะเป็นปกติ
โรคสนิม
เกิดขึ้นจาก สัตว์เซลล์เดียวที่มีรูปร่างกลมรี ซึ่งจะเกาะอยู่ตามผิวหนัง ครีบ ลำตัวปลา
อาการ จะมีละอองสีเหลืองคล้ายกำมะหยี่เกาะอยู่ทั่วตัว
การรักษา ใช้เกลือแกงเข้มข้น หรือ ยาเหลืองญี่ปุ่น หรือใช้ทั้งสองอย่างร่วมกันก็ได้
โรคเชื้อรา
เกิดขึ้นจาก การที่ปลามีสภาพอ่อนแอ หรือ ได้รับบาดเจ็บ
อาการ บริเวณผิวหนังจะเป็นปุยสีขาวคล้ายสำลี
การรักษา ใช้มาลาไคร์กรีน หรือ เกลือแกงประมาณ 1ช้อนโตะต่อน้ำ 30 ลิตร และควรเปลี่ยนน้ำทุกๆอาทิตย์
โรคครีบเปื่อย หางเปื่อย
โรคครีบเปื่อยหางเปื่อย ถือเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง ซึ่งมีสาเหตุเหมือนซึ่งมีสาเหตุเหมือนโรคเชื้อราทั่วไป
อาการ บริเวณครีบต่างๆ จะมีลักษณะขาดเปื่อย หากปล่อยไว้อาจจะลุกลามไปถึงโคนหางได้ ซึ่งจะทำให้การรักษาจะยากขึ้นและใช้เวลามากขึ้น
การรักษา เหมือนการรักษาโรคเชื้อราทั่วไป
โรคเชื้อแบคทีเรีย
เกิดจาก การติดเชื้อโรคจากการกินอาหาร หรือ ความผิดปกติของระบบย่อยอาหาร
อาการ จะมีอาการท้องบวม หรือ ขี้ขาว
การรักษา ใช้ยาปฎิชีวนะ ออกซิเทตราไวคลิน หรือ ใช้เกลือแกง ก็ได้ เพื่อทำให้การขับถ่ายดีขึ้น ช่วงเวลาดังกล่าว ควรจะให้อาหารเม็ด และควรดูแลเรื่องความสะอาดของอาหารสด(โดยเฉพาะหน้าฝน)อาจนำมาแช่ด่างทับทิมอ่อนๆทุกครั้งประมาณ 5 นาที ก่อนให้เป็นอาหารของปลาสุดเลิฟของเพื่อนๆ
โรคปรสิต (หนอนสมอและพยาธิ)
เกิตขึ้นจาก เชื้อปรสิตพยาธิและหนอนสมอ ซึ่งอาจจะติดมาจากปลาตัวอื่นๆที่พึ่งลงใหม่
อาการ ส่วนใหญ่จพบบริเวณเหงือกปลา ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายเส้นด้ายเกาะอยู่ ซึ่งจะทำให้ปลาแกรนและตายในท้ายที่สุด
การรักษา แนะนำให้ใช้ยาปฎิชีวนะที่หาซื้อได้ตามร้านขายอาหารปลาทั่วไป เนื่องจากจะเป็นการรักษาที่ตรงจุดและมีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีอื่น(การใช้ด่างทับทิมหรือฟอมาลีน)
บาดแผลที่เกิดจากการกัดกัน

การรักษา แนะนำให้ใช้ยาเหลืองญี่ปุ่นนะครับ เพราะจากประสบการณ์ จะทำให้หายเร็วและลดโอกาสการเป็นแผลเป็นในบริเวณส่วนสำคัญในตัวปลาอีกด้วย และควรรักษาสภาพน้ำให้สะอาดอยู่เสมอ