วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ปลาซีบร้าไทเกอร์แคทฟิช


ปลาซีบร้าไทเกอร์แคทฟิช


ซีบร้าไทเกอร์ มีชื่อวิทย์ว่า Merodontotus Tigrinus จัดอยู่ในครอบครัว Pimelodidae อ่านออกเสียงว่า pim-a-low-di-deeนะครับ จัดเป็นแคทฟิชขนาดกลาง ประเภทหนวดยาว(Long whiskered ) มีหนวดอยู่ทั้งหมด 3คู่ด้วยกัน โดยมีลักษณะเด่นอยู่ที่ ลวดลายบนลำตัว หางที่มีเปียยาว สีสันบนแก้ม ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 80 ซม. มีถิ่นอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำไหล ทางตอนใต้ของอเมริกา หรือในแม่น้ำที่คุ้นหูกันนั่นคือ แม่น้ำอเมซอนนั่นเอง
สำหรับปลาซีบร้าไทเกอร์ก้อถือว่าเป็นปลาสวยงามอีกชนิดที่นำมาฝากกันในวันนี้..ไว้พบกันใหม่ในแบับต่อไปครับ

วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ปลาผีเสื้อ


ปลาผีเสื้อ



ลักษณะทั่วไปของปลาผีเสื้
ปลาผีเสื้อมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chaetodon lunulatus อยู่ในวงศ์ Chaetodontidae ในวงศ์ประกอบไปด้วยปลาจาก 12 สกุล จำนวน 130 ชนิดพบในทะเลไทยพบไม่ต่ำกว่า 25 ชนิด ปลาผีเสื้อมีลำตัวสั้น แบนด้านข้าง ปากมีขนาดเล็กอาจยืดหดได้ ภายในปากมีฟันละเอียด ครีบหลังมีอันเดียว ประกอบด้วยก้านครีบแข็งอยู่ส่วนหน้าและก้านครีบอ่อนอยู่ถัดไป ครีบทวารมีก้านครีบแข็ง 3 อัน และแผ่นยื่นรับกับครีบหลัง ปลาผีเสื้อมีนิสัยเฉื่อยชา ว่ายน้ำหรือเคลื่อนไหวไปอย่างช้า ๆ ไม่ว่องไวเหมือนปลาอื่น ๆ เป็นปลาที่มีเนื้อไม่เป็นที่นิยมกิน รวมทั้งตัวเล็ก และจับได้ไม่มากจึงไม่นิยมกิน เพราะฉะนั้นจึงมีไว้เพื่อเลี้ยงดูเล่นจะเหมาะที่สุด นิยมเลี้ยงกันมากในวงการเลี้ยงปลาทะเลสวยงามในปัจจุบัน มีราคาดี เป็นที่สนใจและต้องการในตลาด ของวงการเลี้ยงปลาทะเลสวยงาม
ปลาในสกุลนี้รวมไปถึงปลาผีเสื้อที่หลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่าเป็นปลาชนิดอื่น เช่น โนรีหรือโนรีเกล็ด แต่ไม่รวมปลาที่เรียกกันว่า ปลาผีเสื้อเทวรูป หรือโนรีหนัง (Zanclus cornutus) ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกันกับปลาผีเสื้อแต่ไปใกล้ชิดกับพวกปลาขี้ตังเป็ด หรือพวกปลาแทงค์เสียมากกว่า ปลาในกลุ่มนี้มีลำตัวแบน และมีซี่ฟันเล็ก ๆ กระจายทั่วทั้งปาก อันเป็นที่มาของชื่อสกุลที่แปลไว้ว่า มีฟันคล้ายซี่แปรง ทั้งนี้ก็ยังมีอีกหลาย ๆ คนที่มักจะสับสนระหว่างปลาในกลุ่มปลาผีเสื้อกับปลาสินสมุทร (Angelfish) ซึ่งอยู่ในวงศ์ Pomacanthidae แต่จุดเด่นที่แตกต่างคือปลาผีเสื้อไม่มีเงี่ยงที่ใต้กระบังเหงือก
ชื่อของปลาผีเสื้อในบ้านเรานั้นมักจะตั้งขึ้นจากลวดลาย และสีสันบนลำตัวของปลา โดยมีคำว่าผีเสื้อนำหน้าซึ่งคำว่าปลาผีเสื้อนี้จะหมายถึงปลาในสกุล Chaetodon, Forcipiger, และHemitaurichthys เป็นหลัก ส่วนปลาผีเสื้อในสกุล Chelmon, Parachaetodon และ Coradion นั้นจะถูกเรียกว่า กระจิบ ในขณะที่ โนรี นั้นจะหมายถึงปลาในสกุล Heniochus เพียงชนิดเดียว
การแพร่กระจายของปลาผีเสื้อ
ปลาในกลุ่มนี้มีการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไป โดยเฉพาะในแนวปะการังตามเขตอบอุ่นทั่วโลก ทั้งในมหาสมุทรแอตแลนติก และในเขตอินโด-แปซิฟิก ปลาในกลุ่มนี้อาศัยอยู่ในระดับความลึกที่แตกต่างกัน ซึ่งทำให้เราสามารถพบปลาผีเสื้อได้ในบริเวณที่น้ำมีความสะอาด และมีความอุดมสมบูรณ์ตั้งแต่ระดับความลึกเพียงเอวไปจนถึงระดับระดับความลึกหลายร้อยเมตร และปลาผีเสื้อหลายชนิดยังมีเขตกระจายพันธุ์ที่จำกัด เช่น ผีเสื้อเกาะอีสเตอร์ (Chaetodon litus) ที่พบเฉพาะรอบ ๆ เกาะอีสเตอร์กลางมหาสมุทรแปซิฟิก
ความชุกชุมของปลาผีเสื้อในแนวปะการังทั่วน่านน้ำไทย ได้แก่ เกาะค้างคาว จ.ชลบุรี หมู่เกาะชุมพร จ.ชุมพร เกาะขาม เกาะหนู เกาะแมว จ.สงขลา เกาะลอปี เกาะโลซิน จ.นราธิวาส หมู่เกาะสิมิลัน จ.พังงา หมู่เกาะเภตรา หมู่เกาะตะรุเตา จ.สตูล พบว่า มีปลาผีเสื้อวงศ์ Chaetodontidae จำนวน 42 ชนิด (ไม่รวมปลาผีเสื้อเทวรูป) ความหลากหลายของปลาผีเสื้อในแต่ละบริเวณมากน้อยแตกต่างกันไปตามสภาพแนวปะการัง กล่าวคือ หากแนวปะการังมีความอุดมสมบูรณ์มากความหลากหลายของปลาผีเสื้อก็จะมาก ในทางกลับกันหากความอุดมสมบูรณ์ของแนวปะการังมีน้อยความหลากหลายของปลาผีเสื้อก็จะน้อยตามไปด้วย
ปลาผีเสื้อชนิดใหม่ซึ่งเป็นชนิดแรกที่พบในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยพบที่เกาะซินมี 2 ชนิดด้วยกันค่ะคือ ผีเสื้อจุดดำ(Ovalspot Butterflyfish) และ Chaetodon baronessa (Eastern triangle butterfly fish) นอกจากนี้ยังพบปลาผีเสื้ออีก 3 ชนิดที่พบว่ามีการแพร่กระจายทางฝั่งอ่าวไทยเป็นครั้งแรก ได้แก่ ผีเสื้อลายไขว้ (Chaetodon auriga) ผีเสื้อพระจันทร์ (Chaetodon lunula) และผีเสื้อลายเส้น (Chaetodon lineolatus) เนื่องจากปลาผีเสื้อทั้ง 3 ชนิดดังกล่าวนั้นมีรายงานพบเฉพาะที่ฝั่งทะเลอันดามันเท่านั้น
ปลาผีเสื้อเกาะอีสเตอร์ (Chaetodon litus) พบเฉพาะรอบ ๆ เกาะอีสเตอร์กลางมหาสมุทรแปซิฟิก
สังคมของปลาผีเสื้อ
ปลาผีเสื้ออาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงหรือเป็นคู่ แต่ปลาผีเสื้อหลายชนิดมีการเลือกเพียงครั้งเดียวตลอดชีวิต หรืออย่างน้อย ๆ หกปี ที่สำคัญพบว่าปลาผีเสื้อหลายชนิดจะมีจุดสีดำบริเวณโคนหางหรือปลายครีบและพรางดวงตาที่แท้จริงด้วยแถบสีดำ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะเอาตัวรอดจากศัตรูไม่ให้เข้าจู่โจมได้ง่าย ๆ
ปลาผีเสื้อเป็นปลาที่หากินในเวลากลางวัน เมื่อพลบค่ำจะหลบเข้าไปหาที่หลับนอนตามซอกหิน หรือโพรงปะการัง ในเวลากลางคืนปลาผีเสื้อจะเปลี่ยนสีตัวเองให้เข้มขึ้นโดยจะเป็นแต้มสีน้ำตาล หรือแถบสีเทาก็เพื่อให้ปลอดภัยจากอันตรายและศัตรูตามธรรมชาติ
การสืบพันธุ์ของปลาผีเสื้อ
ปลาในกลุ่มนี้จะสืบพันธุ์วางไข่โดยการปล่อยไข่ให้ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ ก่อนจะรอวันให้ลูกปลาฟักออกมาเป็นตัวและกลับไปอาศัยในแนวปะการังต่อไป ลูกปลาผีเสื้อแทบทุกชนิดมีรูปร่างหน้าตาแทบจะเหมือนกับตัวเต็มวัย โดยมักจะมีจุดบริเวณครีบหลัง และเมื่อลูกปลาโตขึ้นจุดที่ว่านี้ก็จะหายไปเช่นเดียวกับในแนวปะการังอื่น ๆ อีกหลายชนิด ตัวอย่างเช่น ปลาผีเสื้อพระจันทร์เมื่อวัยอ่อนจะมีจุดสีดำที่ปลายครีบก้น แต่เมื่อโตขึ้นลวดลายดังกล่าวนั้นก็จะหายไปและจะมีลักษณะเหมือนกับพ่อ-แม่ปลา
การเลี้ยงปลาผีเสื้อ
ปลาผีเสื้อจะเป็นปลาสวยงามที่ได้รับความสนใจ แต่ปลาในกลุ่มปลาผีเสื้อนั้นไม่ใช่ปลาที่สามารถเลี้ยงได้ง่าย หลายชนิดไม่สามารถเลี้ยงให้รอดได้ เช่น ปลาผีเสื้อลายเสือ (Chaetodon meyeri) หรือแม้กระทั่งผีเสื้อเหลือง (C. andamanensis) เนื่องจากอาหารหลักของพวกมันคือโพลิปของปะการังเพียงอย่างเดียว ดังนั้นการศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับปลาผีเสื้อโดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมการกินอาหาร ตลอดจนความไปได้ในการดำรงชีวิต ในเบื้องต้นพบว่าปลาจะยังไม่กินอาหารสำเร็จรูปที่ให้ในทันที และวิธีที่ดีที่สุดในการฝึกปลาให้กินอาหรนั้นก็คือ การให้หอยลายอ้าเปลือกที่ล้างให้สะอาดด้วยน้ำจืด หรืออาหารทะเลสดสับละเอียดที่แช่แข็งแล้วบิให้ปลากินทีละน้อย หรืออาจเลี้ยงปลาผีเสื้อด้วยไรทะเลที่สะอาดด้วยการล้างด้วยน้ำจืดหลาย ๆ ครั้งแล้วแช่น้ำจืดไว้ประมาณ 10 นาทีก่อนให้ จากนั้นให้ผู้เลี้ยงสังเกตการณ์กินของปลาหากปลากินอาหารดีขึ้นก็อาจจะลองให้อาหารสำเร็จรูปสลับ
อย่างไรก็ตามในการเลี้ยงปลาผีเสื้อนั้นผู้เลี้ยงต้องมีการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ ทั้งในเรื่องการควบคุมคุณภาพน้ำ อุณหภูมิ และอาหาร อันเป็นปัจจัยสำคัญลำดับต้น ๆ ในการรักษาชีวิตของปลากลุ่มนี้ให้รอดในระยะยาว


ปลาผีเสื้อ 12 สกุล ได้แก่
1 Amphichaetodon 7 Hemitaurichthys
2 Chaetodon 8 Heniochus
3 Chelmon 9 Johnrandallia*
4 Chelmonops 10 Roa
5 Coradion 11 Parachaetodon*
6 Forcipiger 12 Prognathode
หมายเหตุ: * แทนความเป็น Monotypic Genus อันหมายความว่าทั้งสกุลมีปลาเพียงชนิดเดียว
ปลาผีเสื้อชนิดต่าง ๆ
ปลาผีเสื้อที่พบในประเทศไทยมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน บางชนิดพบเฉพาะในอ่าวไทย บางชนิดพบเฉพาะฝั่งมหาสมุทรอินเดีย และบางชนิดพบอยู่ทั้งสองฝั่ง แต่นำมาฝากคนรักปลาผีเสื้อนั้นจำนวน 7 สกุล15 ชนิดพร้อมกับลักษณะและพฤติกรรมที่น่าสนใจบางประการอีกด้วยเริ่มจาก
สกุล Hemitaurichthys
เป็นปลาผีเสื้อกลุ่มที่หากินกับแพลงก์ตอนที่ลอยมากับกระแสน้ำเป็นหลัก แทนที่จะเป็นปะการังอย่างผีเสื้อสกุลอื่น ๆ แต่ถึงกระนั้นพวกมันก็ยังต้องพึ่งแนวปะการังเป็นที่หลบซ่อนตัวและเป็นแหล่งอาหารเช่นเดียวกับผีเสื้อชนิดอื่น ๆ
การที่เลี้ยงปลากลุ่มนี้ซึ่งกินแพลงก์ตอนเป็นอาหารจึงทำให้พวกมันสามารถปรับตัวให้เข้ากับได้ดีกว่าชนิดอื่น ๆ ปลาในกลุ่มนี้ที่คุ้นหน้าคุ้นตากันดีคงหนีไม่พ้น ผีเสื้อม้าลาย (Hemitaurichthys zoster) เป็นปลาผีเสื้อเพียงตัวเดียวที่พบได้ในน่านน้ำไทย
สำหรับเจ้าปลาผีเสื้อก้อถือเป็นปลาสวยงามอีกประเทหนึ่งที่มีราคาสูง
ผมก้อนำข้อมูลเกี๋ยวกับเจ้าปลาตัวนี้มาฝากกันแค่นี้เอาไว้พบกันใหม่ในฉบับหน้าครับ

การเพาะพันธุ์ปลาบอลลูน


การเพาะพันธุ์ปลาบอลลูน


การเพาะพันธุ์ปลาบอลลูน
ปลาบอลลูนเป็นปลามอลลี่ที่นำมาผสมแบบเลือดชิดจนเกิดร่างกายสั้นป้อม
คัดเลือก และพัฒนามาจากความผิดปกติของปลามอลลี่ (molly) ที่มีลำตัวสั้นกว่าปกติมาผสมพันธุ์กันทำให้ได้ลูกหลานที่มีลำตัวสั้น เป็นปลาที่อยู่ในตระกูลเดียวกับปลาหางนกยูง ปลาสอดและ
ปลาแพทตี้ 
          ปลาบอลลูนจัดเป็นปลาในกล่มออกลูกเป็นตัวชนิดหนึ่งที่นอกจากจะเลี้ยงง่ายแล้วยังเพาะพันธุ์ง่ายด้วย การเพาะพันธุ์ปลาบอลลูนนั้นสามารถเพาะเลี้ยงได้ทั้งในบ่อซีเมนต์และในกระชังซึ่งมีขั้นตอนและวิธีการดังต่อไปนี้คือ
          การเพาะเลี้ยงในบ่อซีเมนต์
          มีวิธีการเลี้ยงคล้าย ๆ กับการเพาะเลี้ยงปลาหางนกยูงในบ่อซีเมนต์คือ นำพ่อแม่พันธุ์ อายุประมาณ 3-4 เดือนขึ้นไป ปล่อยลงในบ่อซีเมนต์ ขนาดตามสะดวก และความต้องการของท่านว่าจะอยากได้ การผสมแนะนำให้ใช้อัตราส่วนเพศผู้ : เพศเมียเท่ากับ 1:4  ถ้าบ่อขนาด 3 x3 เมตร ระดับน้ำ 30 เซนติเมตรสามารถปล่อยพ่อแม่พันธุ์ได้ประมาณ 1,000 ตัว (100-120 ตัว/1 ตารางเมตร) แม่ปลาจะตั้งท้องประมาณ 28-35 วันและให้ลูกปลา 10-30 ตัว/แม่ปลา 1 ตัว แม่ปลาแต่ละรุ่นอายุไม่ควรเกิน 7-8 เดือน ควรนำปลารุ่นใหม่มาเป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไป
           เมื่อแม่ปลาให้ลูกจะต้องคอยตักลูกปลาทุกวันเพื่อไม่ให้มันกินลูก แล้วนำไปล่อยในบ่อนุบาลเพื่ออนุบาลต่อไป บ่ออนุบาลควรมีขนาด 1-6 ตารางเมตรโดยปล่อยในความหนาแน่น 120-200 ตัว/1 ตารางเมตร การอนุบาลช่วงแรกให้กินไรแดง 2 มื้อ เช้า-เย็น จนกระทั้งอายุได้ 1 เดือน แต่ขึ้นอยู่กับสถานที่เลี้ยงว่าสามารถหาไรแดงได้สะดวกหรือไป ถ้าไม่สามารถหาไรแดงได้เมื่อปลามีอายุ 2 สัปดาห์ไปแล้ว สามารถให้อาหารผสมแทนในมื้อเย็นได้ เมื่อลูกปลาอายุ 1 เดือน ทำการคัดขนาด แยกเพศและคัดปลาพิการออก ส่วนการถ่ายน้ำและการจัดการบ่อสามารถกระทำได้เมื่อลูกปลามีอายุ 3 สัปดาห์ไปแล้ว โดยถ่ายน้ำประมาณ 80% แล้วเติมน้ำใหม่ให้เท่ากับส่วนที่ถ่ายออก
            ทำการเลี้ยงลูกปลาต่อในความหนาแน่นประมาณ 60-80 ตัว/1 ตารางเมตร เลี้ยงต่อจนอายุได้ 2-2.5 เดือนก็สามารถคัดขนาดอีกครั้งเพื่อจำหน่ายได้ การเลี้ยงปลารุ่นนี้สามารถให้กินอาหารผสมในมื้อเย็นหรือถ้าไม่มีไรแดงก็สามารถให้กินอาหารผสมทั้ง 2 มื้อเช้าเย็นได้ การถ่ายน้ำและการจัดการบ่อในระยะนี้ ควรมีการถ่ายน้ำทุกสัปดาห์ ๆ ละ 1 ครั้งโดยถ่ายน้ำออกทั้งหมดแล้วเติมน้ำใหม่จนเท่าระดับน้ำเดิม สาเหตุที่ต้องถ่ายน้ำหมดเนื่องจากปลารุ่นมีการให้อาหารผสมสลับกับอาหารมีชีวิตคือไรแดง จึงมีส่วนของเศษอาหารที่หลงเหลือจากการกินและส่วนที่เป็นสิ่งขับถ่ายออกมาจากตัวปลา ทำให้น้ำมีคุณภาพไม่ดีเร็วยิ่งขึ้นและจะขุ่นตลอดเวลา การเปลี่ยนถ่ายน้ำทั้งหมดจะช่วยเพิ่มอัตราในการเจริญเติบโต แต่ควรพึงระวังคุณสมบัติน้ำที่เปลี่ยนถ่ายควรจะใกล้เคียงกับน้ำเก่าในบ่อ

          ให้ระวังคางคก หรืออึ่งอ่าง หรือกบ ลงไปกินให้หมั่นตรวจสอบจุดที่มันสามารถซ่อนได้ และบริเวณใต้ก้นบ่อ ใต้ขอบบ่อ บริเวณพื้นน้ำ และหิน

วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ปลาแรด ยักษ์ใหญ่ในตู้กระจก


  ปลาแรด ยักษ์ใหญ่ในตู้กระจก
สำหรับนักเลงปลาใหญ่ที่ชอบสะสมเฉพาะบิ๊กไซซ์เท่านั้นคงต้องรู้จัก ปลาแรด เป็นอย่างดี ปลาแรดเป็นปลาน้ำจืดที่จัดได้ว่าล่ำสันใหญ่โต ในธรรมชาติมันอาจมีความยาวได้ถึง 70 เซนติเมตร ส่วนในตู้กระจก (ที่ไม่เล็กจนเกินไปนัก) ก็ยังสามารถโตได้ถึง 50 เซนติเมตร น้ำหนักตัวนั้นว่ากันเกือบ 10 กิโลกรัม ทีเดียวครับ

          ปลาแรด อยู่ในวงศ์เดียวกับปลากระดี่ เรียกได้ว่าเป็นปลากระดี่ชนิดที่ใหญ่ที่สุด ลักษณะเด่นของปลาวงศ์นี้คือมี 2 ประการ คือ

          1. มีอวัยวะช่วยหายใจ (labyrinth organ) ซึ่งทำให้มันสามารถขึ้นมาฮุบอากาศเหนือผิวน้ำเอาออกซิเจนเข้าไปได้โดยตรง

          2. มีครีบท้อง (pelvic fin) ที่พัฒนาเป็นเส้นยาวคล้ายหนวดกุ้งเพื่อใช้ในการคลำหาอาหารบริเวณพื้นน้ำ

          ในวัยเด็ก ปลาแรดจะมีรูปร่างบางคล้ายใบไม้ มีลายขวางจางๆ บนพื้นลำตัวสีน้ำตาลเทา ส่วนหัวเรียวเล็กมีจะงอยปากแหลม ตาโต โคนหางมีจุดสีดำเห็นชัดเจน พอเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นจะงอยปากจะสั้นลง ริมฝีปากเริ่มหนาขึ้นเช่นเดียวกับลำตัวที่แผ่กว้าง เมื่อปลาโตเต็มวัยจะมีริมฝีปากหนามาก ขากรรไกรล่างยื่นออกมากกว่าขากรรไกรบน มีโหนกหรือสันปูดขึ้นมาบริเวณหน้าผากคล้ายกับมะม่วงพันธุ์แรด จึงเป็นที่มาของชื่อปลาแรดนั่นเอง ส่วนจุดดำบริเวณโคนหางจะหายไป ปลาตัวผู้มีสันบนหัวใหญ่มากกว่าตัวเมีย ปลายครีบยาวกว่า สีสดเข้มกว่าและลำตัวเพรียวกว่า

          ปลาแรดมีรสชาติอร่อย เดิมทีจะมีการเพาะเลี้ยงไว้เพื่อนำมาเป็นอาหาร แต่ต่อมาเนื่องจากมันเป็นปลานิสัยเชื่องคน เลี้ยงง่าย และกินได้ทุกอย่าง ทั้งราคาก็ถูกมาก จึงเริ่มนิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และในเวลาต่อมาเราก็ได้รู้เพิ่มเติมอีกว่า ปลาแรด ไม่ได้มีอยู่เพียงสายพันธุ์เดียว มันยังมีความหลากหลายทั้งรูปร่างและสีสัน มีทั้งปลาแรดเผือกที่สีเนื้อเป็นสีขาวอมชมพู มีทั้งปลาแรดแดงจากอินโดนีเซียที่มีครีบแดงสดเร่าร้อน และมีกระทั่งปลาแรดที่มีเขี้ยวเต็มปาก อาศัยอยู่เฉพาะในแม่น้ำโขง วงการปลาสวยงามจึงต้องเริ่มเอาปลาแรดมาประเมินคุณค่ากันใหม่ เพราะบางสายพันธุ์นั้นราคาสูงมากทีเดียว เช่น ปลาแรดแดงอินโด

การเลี้ยงปลาแรดในตู้กระจก

          เนื่องจากปลาแรดมีความอดทนสูง จึงจัดเป็นปลาที่เลี้ยงยังไงก็ตายยาก ยกเว้นปลาวัยเด็ก ซึ่งเป็นช่วงเปราะบาง หากเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นๆ ที่ก้าวร้าวกว่าก็อาจทนแรงเสียดทานไม่ไหว ค่อยๆ ป่วยตายไปก็มี การเลี้ยงปลาแรดให้ง่ายที่สุดคือ เลี้ยงตามลำพังตัวเดียว ในตู้ขนาดเหมาะสม คือถ้าปลายังเล็กก็สามารถเลี้ยงในตู้ ขนาด 20-24 นิ้ว ได้ แต่ถ้าปลาใหญ่กว่า 6 นิ้ว ก็จำเป็นต้องย้ายไปอยู่ในตู้ที่กว้างขวางกว่า ปลาแรดโตเร็วมากหากได้รับการดูแลดี ตู้ที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลาแรดโตเต็มวัยคือ ตู้ขนาด 60x24x24 นิ้ว ขึ้นไป

          แต่สำหรับผู้ที่ต้องการเลี้ยงปลาแรดรวมกันหลายตัวก็จำเป็นต้องหาตู้ใหญ่ๆ เลยตั้งแต่แรก และจะต้องเลี้ยงมันอย่างน้อย 6-7 ตัว ขึ้นไป เนื่องจากปลาแรดเองก็มีความก้าวร้าวดุร้ายอยู่ในตัวไม่น้อย การเลี้ยงรวมในที่แคบ ปลาแรดตัวที่ใหญ่กว่าแข็งแรงกว่าจะจู่โจมปลาที่เล็กกว่า อย่างเอาเป็นเอาตาย แค่เวลาไม่กี่ชั่วโมงปลาตัวที่โดนกัดจะหมดสภาพและตายในเวลาต่อมา ส่วนการเลี้ยงรวมกับปลาอื่นอาจทำได้ง่ายกว่า เพราะปลาแรดนั้นหากไม่ใช่หน้าตาแบบเดียวกับมันก็ดูเหมือนจะให้ความสนใจน้อย ลง แต่จำเป็นต้องเลือกปลาที่มีขนาดใกล้เคียงกัน และมีความว่องไวแข็งแรงให้มากเข้าไว้ เช่น ปลาหมอสี จากอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ปลาในวงศ์ปลาตะเพียน ปลาในวงศ์คาราซินิเดขนาดกลาง เป็นต้น

          เป็นที่น่าแปลกว่า ปลาแรดที่โตเต็มที่จะลดความก้าวร้าวดุร้ายลงไปอย่างเห็นได้ชัด บางตู้สามารถเลี้ยงปลาแรดเพียงสองตัวได้อย่างไม่มีปัญหาใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งที่ปลาตัวหนึ่งใหญ่บึกบึนกว่ากันมาก

          ตู้ที่เลี้ยงปลาแรดต้องจัดให้มีพื้นที่ว่างโล่งมากๆ ให้ปลาว่ายน้ำ สามารถตกแต่งด้วยหินหรือขอนไม้ได้ แต่อย่าให้รกเกินไปนัก หินต้องไม่มีสันหรือชะง่อนคม เช่นเดียวกับขอนไม้ที่ต้องไม่เป็นกิ่งก้านเกะกะ ที่สำคัญหลีกเลี่ยงการเลี้ยงพืชน้ำในตู้ เพราะปลาแรดกินได้ทุกอย่าง โดยเฉพาะพืชผัก อาจใช้เป็นต้นไม้ปลอมแทนหากต้องการสีสัน

          ระบบกรองน้ำต้องดี เนื่องจากปลาแรดกินจุ กินทุกอย่างที่ขวางหน้า ถ้ากินไม่อิ่มมักออกอาการโกรธ พุ่งชนตู้แยกเขี้ยวขู่เราไปเรื่อยจนกว่าจะยอมให้อาหารมันเพิ่ม ฉะนั้น น้ำจึงลดคุณภาพลงอย่างรวดเร็วหากใช้แค่กรองพื้นฐานอย่างกรองใต้กรวดหรือ กรองกระป๋อง ตู้ขนาดใหญ่มีระบบกรองชีวภาพข้างตู้ก็สามารถรับมือได้สบายๆ แต่ตู้ขนาดเล็กก็อาศัยเปลี่ยนถ่ายน้ำให้บ่อยขึ้น โดย 1 สัปดาห์ ควรถ่ายออกราว 25-30 เปอร์เซ็นต์

          ปลาแรดกินได้ทุกอย่าง ทั้งพืชและเนื้อสัตว์ ในปลาวัยเด็กออกจะชอบไปในทางเนื้อสัตว์ ประเภทไส้เดือน หนอนแดง ไรทะเล หรือกุ้งฝอย พอเริ่มโตขึ้นมาก็จะหันมากินอาหารประเภทพืชหนักขึ้น เราสามารถใช้อาหารเม็ดที่มีส่วนผสมของผักต่างๆ หรือสาหร่ายสไปรูไลน่าให้เป็นอาหารหลักได้โดยเสริมอาหารสดอย่างกุ้งฝอยหรือ เนื้อสัตว์อื่นบ้าง เช่นเดียวกับผักที่มีเส้นใย เช่น ผักกะหล่ำปลี ผักกาดขาว ผักบุ้ง ผลไม้บางอย่างปลาแรดก็ชอบกินเช่นกัน เช่น แอปเปิล หรือมะเขือเทศ ผู้เพาะเลี้ยงบางคนตักแหนตามลำคลองมาล้างให้สะอาด ให้ปลาแรดกินเป็นอาหารเสริม ซึ่งดูเหมือนมันก็ชอบไม่น้อย

สายพันธุ์ปลาแรด

          ในปัจจุบันมีปลาแรดสายพันธุ์ต่างๆ ให้เลือกซื้อไปเลี้ยง ทุกพันธุ์มีรูปร่างหน้าตาคล้ายกันหมด แต่ผิดแผกแตกต่างกันไปตามรายละเอียดอื่นๆ เช่น สีสัน และอวัยวะพิเศษบางอย่าง ดังนี้ครับ




          1. ปลาแรดธรรมดา หรือแรดดำ ชื่อวิทยาศาสตร์ Osphronemus goramy

          ก็คือ ปลาแรดธรรมดา หรือที่เรียกกันว่า "แรดดำ" นั่นเอง จัดเป็นแรดพื้นเมืองของไทยชนิดหนึ่ง มีสีไม่สวยนัก แต่ก็เด่นที่ราคาถูก (และเนื้ออร่อย)





          2. ปลาแรดเผือก ชื่อวิทยาศาสตร์ Osphronemus goramy Albino, Silvery

          จัดออกเป็น 2 สายพันธุ์ คือแรดเผือกตาดำ และแรดเผือกตาแดง ปลาแรดเผือกตาดำนั้นมีสีขาวนวลอมชมพู ไม่มีลายบนลำตัว ลักษณะค่อนข้างเพรียวยาวกว่าแรดเผือกตาแดง ซึ่งเป็นการผ่าเหล่ามาจากปลาแรดดำ โดยยังจะมีลายบนลำตัวให้เห็นจางๆ และมีลำตัวกว้างป้อมกว่า สีสันออกขาวสว่างกว่าอย่างเห็นได้ชัด





          3. ปลาแรดเขี้ยว ชื่อวิทยาศาสตร์ Osphronemus exodon

          เป็นปลาแรดที่มีถิ่นอาศัยในแม่น้ำโขง ลักษณะภายนอกคล้ายกับปลาแรดดำทั่วไป แต่มีฟันรูปเขี้ยวที่ริมฝีปากนอก ในขณะที่ปลาแรดชนิดอื่นก็มีฟันในแบบเดียวกัน แต่อาจเล็กกว่าและอยู่เข้าไปด้านในของริมฝีปาก ทำให้มองเห็นไม่ชัดเท่า ปลาแรดเขี้ยวจัดเป็นปลาแรดหายาก ฉะนั้น จึงมีราคาสูงกว่าปลาแรดดำหรือปลาแรดเผือกทั้งที่ตัวมันเองก็ไม่ได้สวยมากไปกว่า




          4. ปลาแรดแดง ชื่อวิทยาศาสตร์ Osphronemus laticlavius

          ปลาแรดแดง มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย เป็นปลาแรดที่มีสีสันสวยงามมาก โดยเฉพาะในปลาตัวผู้ที่โตเต็มวัย สีพื้นลำตัวด้านบนจะเข้มดำ ในขณะที่ทางด้านล่างจะสีอ่อนกว่า ครีบทุกครีบมีสีส้มแดง เช่นเดียวกับข้างแก้มและส่วนหัว บางตัวออกสีแดงจัด ขึ้นอยู่กับสภาพและวิธีการเลี้ยง ปลาแรดแดงเป็นปลาแรดที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาปลาแรดด้วยกัน โตเต็มที่เพียง 50 เซนติเมตร เท่านั้น จัดเป็นปลาแรดที่มีราคาแพงที่สุด
สำหรับบทความเกี่ยวกับปลาแรดผมก้อมีมาฝากกันแค่นี้เอาติดตามกันใหม่ครับ

      


วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ปลาเพี้ย

ปลาอีกาหรือที่รู้จักกันในชื่อปลาเพี้ย

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ :            Morulius chrysophekadion
ลักษณะทั่วไป :          เป็นปลาน้ำจืดขนาดกลาง ลำตัวเรียวยาวด้านข้างแบน พื้นลำตัวสีม่วงดำหรือน้ำเงินดำ เกล็ดมีขนาดใหญ่คลุมตลอดลำตัวยกเว้นส่วนหัว หัวเรียวแหลม ปากยืดหดได้ ไม่มีฟัน ริมฝีปากบนและล่างเป็นหยัก มีติ่งเนื้อเป็นฝอยสั้น ๆ อยู่รวมกันเป็นกระจุก มีหนวด 2 คู่ ครีบหลังมีขนาดใหญ่และสูงมาก ครีบหู ครีบท้อง และครีบก้น เรียวยาวและมีขนาดไล่เลี่ยกัน ครีบหางยาวเป็นแฉกเว้าลึก ครีบทุกครีบมีสีดำ ตัวใหญ่สุดอาจยาวถึง 48 เซนติเมตร
ถิ่นอาศัย, อาหาร :    พบในประเทศไทย ตามแหล่งน้ำที่มีระดับน้ำตื้นๆ และมีพันธุ์ไม้น้ำ กินตะไคร่น้ำ พืชน้ำขนาดเล็ก แพลงก์ตอน ซากพืชและตัวอ่อนแมลงน้ำ
พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ :    -
สถานภาพปัจจุบัน :  -
สถานที่ชม :   สวนสัตว์เชียงใหม่

ปลาน้ำผึ้ง หรืออีดูด


ปลาน้ำผึ้ง หรืออีดูด




ชื่อสามัญ  Siamese algae eater

ชื่อวิทยาศาสตร์  Gyrinocheilus  aymonieri  (Tirant, 1883)

ลักษณะทั่วไปของปลาน้ำผึ้ง

              ปลาน้ำผึ้ง หรืออีดูด เป็นปลาประจำท้องถิ่นของไทย ในธรรมชาติเป็นปลาขนาดกลาง โตเต็มที่อาจยาวได้ถึง 20 เซนติเมตร มีรูปร่างยาวทรงกระบอก ปลาน้ำผึ้งเป็นปลาขนาดเล็กที่มีลักษณะลำตัวเรียวคล้ายทรงกระบอก ค่อนข้างเรียวไปทางโคนหาง ความยาวลำตัววัดจากจะงอยปากถึงโคนหางเป็น 4.5-5.4 เท่าของความกว้างลำตัว ส่วนหัวสั้น ด้านล่างของส่วนหัว และส่วนท้องแบนราบ ตาค่อนไปทางด้านบนของหัว ปากอยู่ด้านล่าง ลำตัวมีสีน้ำตาล บริเวณหลังมีแต้มสีดำ หรือน้ำเงิน ด้านข้างลำตัวของปลาวัยอ่อนมีแถบสีน้ำตาลเข้มพาดไปตามความยาวของลำตัว ครีบมีสีเหลือง หรือน้ำตาลพร้อมด้วยจุดสีดำเล็ก ๆ ครีบทุกครีบไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหลังมีก้านครีบ 13-14 อัน ครีบก้นมีก้านครีบ 8-9 อัน มีเกล็ดตามแนวเส้นข้างตัว 39-41 เกล็ด ปลาน้ำผึ้งพบมากทั้งแหล่งน้ำนิ่ง และน้ำไหล ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ริมฝีปากเปลี่ยนแปลงเป็นอวัยวะสำหรับการยึดเกาะ เหมือนปลาซัคเกอร์ ช่องเปิดเหงือกแต่ละข้างมีสองช่องสำหรับให้น้ำไหลผ่านใช้ในการหายใจ ผิดจากปากน้ำจืดชนิดอื่น ๆ ที่ดูดน้ำเข้าทางปาก และปล่อยออกทางเหงือก กินอาหารประเภท ตะไคร่น้ำ สาหร่ายบางชนิด เศษพืช และสัตว์เน่าเปื่อยเป็นอาหาร มีขนาดความยาว 20-26 เซนติเมตร

การแพร่กระจาย

                  ปลาน้ำผึ้งมีการแพร่กระจายตามแหล่งน้ำไหลทั่วไปทั้งในประเทศไทย พม่า ลาว กัมพูชามาเลเซีย และอินโดนีเซีย ในประเทศลาว พบที่หลวงพระบาง และ อ่างเก็บน้ำเขื่อนน้ำงึม  ในประเทศกัมพูชาพบบริเวณแม่น้ำโขงของกัมพูชา ในประเทศไทยพบแพร่กระจายอย่างกว้างขว้างทั่วไปในที่ราบลุ่มภาคกลาง โดยเฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยา บึงบอระเพ็ด พบมากที่สุโขทัย โดยเฉพาะในแม่น้ำยม และลำคลองสาขา แถบจังหวัดอีสาน พบมากในแม่น้ำโขง และทางภาคใต้ พบที่สงขลา




การเพาะพันธุ์ปลาน้ำผึ้ง

              การเพาะพันธุ์ปลาน้ำผึ้ง โดยใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ buserelin acetate ร่วมกับ ยาเสริมฤทธิ์ domperidone ฉีดปลาเพศเมีย ครั้งที่ 1 ในอัตราความเข้มข้น 10-15 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ร่วมกับ ยาเสริมฤทธิ์  10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ปลาเพศผู้ฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ 10 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ร่วมกับ ยาเสริมฤทธิ์  5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แม่ปลาสามารถวางไข่ภายในระยะเวลาประมา 4 ชั่วโมง หลังฉีดฮอร์โมน  ลักษณะไข่ปลาเป็นแบบไข่ลอย ไข่ฟักเป็นตัวอยู่ในระหว่าง 13 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิของน้ำ 27-28 องศาเซลเซียส มีอัตราการฟักเท่ากับ 30-50 เปอร์เซ็นต์ อนุบาลลูกปลาวัยอ่อนด้วยโรติเฟอร์ และไข่แดงบดละเอียด  ลูกปลามีลักษณะเหมือนตัวเต็มวัยเมื่ออายุ 17 วัน



วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ปลาหมูกระโดงสูง

ปลาหมูกระโดงสูง


ปลาหมูกระโดงสูง (อังกฤษ: Chinese sucker, Chinese loach, Chinese high fin sucker, Chinese high fin banded shark; จีน: 胭脂魚; พินอิน: yānzhiyú; ชื่อวิทยาศาสตร์: Myxocyprinus asiaticus) ปลาน้ำจืดกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมูกระโดงสูง (Catostomidae) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Myxocyprinus[1] (มาจากภาษากรีก "myxos" หมายถึง "น้ำมูกหรือเสมหะ" และภาษาละติน "cyprinus" หมายถึง ปลาตะเพียน)[2]
มีพื้นลำตัวสีขาวอมชมพู มีแถบสีดำหนา 3 เส้นเป็นแนวตั้ง มีจุดเด่น คือ มีครีบหลังที่ปลายแหลมสูงและมีขนาดใหญ่ ในปลาที่มีขนาดเล็กกว่า 4 นิ้วจะมีสีสันสดใสและลำตัวทรงสั้นมีครีบหลังใหญ่มองดูคล้ายใบเรือ แต่เมื่อมีขนาดใหญ่ขึ้นสีขาวบนลำตัวจะเริ่มหายไป สีจะซีดจาง ขนาดของครีบหลังจะมีขนาดเล็กลงและความยาวลำตัวจะออกไปทางทรงยาวมากกว่าทรงสูง
มีความยาวเมื่อโตเต็มที่ได้ถึง 90 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์เฉพาะในแม่น้ำแยงซีเกียง ในประเทศจีนเท่านั้น มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง
ปลาหมูกระโดงสูง เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ด้วยเป็นปลาที่มีความสวย ซ้ำยังมีอุปนิสัยเรียบร้อย ไม่ดุร้ายก้าวร้าวเลย และสามารถทำความสะอาดตู้ที่ใช้เลี้ยงได้เป็นอย่างดี ด้วยเป็นปลาที่หากินกับพื้นท้องน้ำ แต่เป็นปลาที่มีอัตราการเจริญเติบโตได้ช้ามาก เพียงแค่ 1-2 นิ้วต่อปีเท่านั้น เป็นปลาที่ยังไม่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ ต้องรวบรวมพันธุ์ปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติเท่านั้น การจำแนกเพศ สามารถดูได้ที่เพศผู้ในฤดูผสมพันธุ์จะมีตุ่มขาว ๆ คล้ายสิวบริเวณส่วนหัวและโคนครีบอก เช่นเดียวกับปลาหลายชนิดในวงศ์ Cyprinidae[3]

วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ปลาเสือต่อ


ปลาเสือต่อ
ชื่อสามัญ  Tiger fish , Siamess tigerfish , Gold datnoid

ชื่อวิทยาศาสตร์  Datnioides  undecimradiatus  (Roberts & Kottelat, 1994)

ลักษณะทั่วไปของปลาเสือตอ
            
              ปลาเสือตอเป็นปลาในวงศ์ Family Lobotidae ซึ่งปลาในวงศ์นี้ ในแหล่งน้ำจืดของประเทศไทย พบเพียง 2 ชนิด คือ ปลาเสือตอ และปลากระพงลาย ปลาทั้งสองชนิดมีรูปร่างคล้ายกันมากต่างกันที่ลายบนตัวปลาซึ่งในปลาเสือตอมีเส้นลายดำพาดขวางประมาณ 6 แถบ แต่ในปลากระพงลายเส้น ลายดำมีถึง 8-10 แถบ และสีของปลาเสือตอเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล ส่วนของปลากระพงลาย เป็นสีเงินอมเทา ปลาเสือตอเป็นปลาที่มีรูปร่างค่อนข้างแปลก หัวแหลมท้ายกว้าง ลำตัวค่อนข้างลึกแบนข้าง ลำตัวสีครีมหรือสีน้ำตาลอ่อน จุดเด่น คือ มีลายดำพลาดขวางลำตัว 6 ลาย จะงอยปากยื่นยาว ปากกว้างสามารถยืดหดได้ ดวงตากลมมีขนาดใหญ่ ส่วนหัวลาดลงเป็นปลายแหลม และมีครีบ 7 ครีบ ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นหนามแหลมแข็งแรง 12 อัน  ครีบท้อง 1 คู่ อยู่ใต้ครีบอก ครีบก้นเป็นหนามแข็ง 3 อัน และส่วนที่เหลือเป็นก้านครีบอ่อน ครีบหางมีลักษณะกลมแบบพัด ในแหล่งน้ำธรรมชาติพบมีความยาวประมาณ 40 ซม. สำหรับปลาเพศผู้หรือเมียค่อนข้างดูยาก
              ปลาเสือตอที่พบในประเทศไทยมีลายบนตัวแตกต่างกันเป็น 2 พวก โดยพวกแรกมีลายสีดำที่มีขนาดใหญ่ พื้นที่ของเส้นดำกลางตัวกว้างพอ ๆ กับส่วนของสีพื้น ซึ่งเป็นสีอ่อน มักรู้จักในชื่อเฉพาะว่า ปลาเสือตอลายใหญ่และอีกชนิดหนึ่งลักษณะเส้นของลายดำที่พาดแต่ละเส้นมีขนาดเล็ก โดยเล็กกว่าชนิดลายใหญ่ประมาณครึ่งหนึ่ง หรือมากกว่านั้น ปลาลายเส้นเล็กนี้เป็นปลาที่พบทั่วไปเป็นส่วนใหญ่เรียกว่า ปลาเสือตอลายเล็กตามธรรมชาติปลาเสือตอชอบหากินอยู่ในระดับน้ำลึกประมาณ 2-3 เมตร ไม่ชอบที่มีพันธุ์ไม้น้ำขึ้นหนาแน่น แต่ชอบอยู่ในที่มีเสาหลัก ต่อไม้ใต้น้ำ อุปนิสัยคอยจ้องจับเหยื่อโดยแฝงตัวอยู่อย่างเงียบ ๆ ซึ่งการชอบอาศัยอยู่ที่ตอไม้นี่เอง จึงถูกเรียกว่าปลาเสือตอ อาหารของปลาเสือตอ ได้แก่ ปลาขนาดเล็ก และลูกกุ้ง การกินอาหารของปลาเสือตอโดยการพุ่งเข้าฮุบเหยื่ออย่างว่องไว ขณะที่กินอาหารปลาจะมีสีที่สดใส และมักกางหนามของครีบหลังตั้งขึ้น เป็นปลาที่มีประสาทตาไว คอยระมัดระวังตัวอยู่เสมอ ปลาเสือตอเป็นปลาที่รักสงบไม่ก้าวร้าวสามารถเลี้ยงรวมกันได้หลายตัว และสามารถเลี้ยงปนกับปลาอื่นที่มีขนาดไล่เลี่ยกันได้ ปลาเสือตอในภาคกลาง ปัจจุบันนี้ได้ลดจำนวนลงมาก และกำลังจะสูญพันธุ์อีกชนิดหนึ่ง             
              ปลาเสือตอที่พบในแหล่งน้ำทางภาคอีสาน เป็นปลาเสือตอลายเล็ก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coius undecimraciatus หรือในชื่อเรียกที่รู้จักในตลาดปลาสวยงามว่า "เสือตอลายเล็ก" พบมากในแม่น้ำโขงแถบจังหวัดหนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี ยโสธร ในแม่น้ำมูล มีจำนวนค่อนข้างมาก  ราคาซื้อขายขนาดเล็ก 2 นิ้วฟุต ตัวละ 20-50 บาท
              ปลาเสือตอลายใหญ่ และเสือตอลายคู่ (ลาย 7 ขีด) ปลาเสือตอทั้ง 2 ชนิด นี้ต้องนำเข้ามาจากประเทศเขมร เป็นปลาที่จับจากแหล่งน้ำธรรมชาติ คือ ทะเลสาบในประเทศเขมร โดยมีพ่อค้าคนกลางเก็บรวบรวม ปลาเสือตอทุกขนาดลำเลียงเข้ามาในประเทศไทย เพื่อขายส่งต่อไปยังต่างประเทศทั่วโลกเป็นสินค้าปลาสวยงามนิ้วละ 60-100 บาท

การแพร่กระจาย

              การแพร่กระจายของปลาเสือตอ มีชุกชุมบริเวณภาคกลางของประเทศไทย ในแม่น้ำเจ้าพระยา บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ นอกจากนี้ยังมีพบที่แม่น้ำน่าน และแม่น้ำโขง ส่วนในต่างประเทศพบที่ กัมพูชา สุมาตรา พม่า บอร์เนียว มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

การเพาะพันธุ์ปลาเสือตอ

              ปลาเสือตอสามารถวางไข่โดยวิธีธรรมชาติ โดยไม่จำเป็นต้องใช้การฉีดฮอร์โมนเข้าช่วย ช่วงการวางไข่ประมาณเดือน มีนาคม-พฤษภาคม ปลาเสือตอเพศผู้มีขนาดโตเต็มวัยเมื่อมีน้ำหนักประมาณ 300-400 กรัม ส่วนปลาเสือตอเพศเมียขนาด 800 กรัม ก็เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ไข่ปลาเสือตอเป็นไข่ประเภทลอยน้ำ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ใช้เวลาฟักออกเป็นตัวประมาณ 14-17 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิประมาณ 29 องศาเซลเซียส และถุงอาหารยุบภายในเวลา 2-3 วัน อาหารที่เหมาะสมของลูกปลาเสือตอวัยอ่อนควรเป็นแพลงก์ตอนสัตว์ขนาดเล็ก เช่น โรติเฟอร์ในระยะ 3-10 วันแรก และใช้ไรแดงเลี้ยงอนุบาลจนได้ขนาด 3 เซนติเมตรขึ้นไป จึงใช้ หนอนแดง อาร์ทีเมียขนาดใหญ่ หรือลูกปลาขนาดเล็กให้กินเป็นอาหาร