โรคจุดขาว
เกิดขึ้นจาก
การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว
ซึ่งเกิดจากสัตว์เซลล์เดียวที่นิยมเรียกกันสั้นๆว่า อิ๊ค ซึ่งตัวอ่อนจะฝังตัวอยู่บริเวณลำตัวรวมทั้งครีบต่างๆ
ทำให้สังเกตุเห็นได้เป็นจุดขาวขนาดเล็กซึ่งจะลุกลามอย่างรวดเร็วจนทั่วตัวปลา เมื่อ
อิ๊ค
เติบโตเต็มที่จะหลุดออกจากตัวปลาซึ่งจะกระจายตัวอยู่ในน้ำและขยายพันธ์อย่างรวดเร็ว
อาการ
ปลาที่ป่วยจะมีจุดสีขาวตามตัวและมีพฤติกรรมการว่ายน้ำผิดปกติ ใช้ตัวถูกับ หิน
กระจกตู้ หรือวัสดุต่างๆภายในตู้ปลา
ซึ่งอาจทำให้เกิดแผลทำให้ปลาขาดความสวยงามและเกิดโรคอื่นๆแทรกซ้อนได้
การรักษา
นิยมใช้เกลือแกงซึ่งหาซื้อได้ตามตลาดทั่วไป ประมาณ 1
ช้อนโตะต่อน้ำ 30 ลิตร (หรือมาลาไคร์กรีนหรือซุปเปอร์อิ๊ค
ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์และอาหารปลาทั่วไป) และ
ใส่ฮีทเตอร์โดยให้อุณหภูมิอยู่ที่ 27-30 องศาเซียลเซียส เปลี่ยนน้ำทุกๆ 3วัน
30%ของตู้ปลา
โดยค่อยๆเปิดเติมเพื่อให้ปลาปรับสภาพน้ำใหม่ ควรลดอาหารเพื่อไม่ให้ตู้สกปรกด้วย
ประมาณ 2อาทิตย์ก็จะเป็นปกติ
โรคสนิม
เกิดขึ้นจาก สัตว์เซลล์เดียวที่มีรูปร่างกลมรี
ซึ่งจะเกาะอยู่ตามผิวหนัง ครีบ ลำตัวปลา
อาการ
จะมีละอองสีเหลืองคล้ายกำมะหยี่เกาะอยู่ทั่วตัว
การรักษา ใช้เกลือแกงเข้มข้น หรือ
ยาเหลืองญี่ปุ่น หรือใช้ทั้งสองอย่างร่วมกันก็ได้
โรคเชื้อรา
เกิดขึ้นจาก การที่ปลามีสภาพอ่อนแอ หรือ
ได้รับบาดเจ็บ
อาการ บริเวณผิวหนังจะเป็นปุยสีขาวคล้ายสำลี
การรักษา ใช้มาลาไคร์กรีน หรือ เกลือแกงประมาณ 1ช้อนโตะต่อน้ำ
30 ลิตร และควรเปลี่ยนน้ำทุกๆอาทิตย์
โรคครีบเปื่อย หางเปื่อย
โรคครีบเปื่อยหางเปื่อย
ถือเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง
ซึ่งมีสาเหตุเหมือนซึ่งมีสาเหตุเหมือนโรคเชื้อราทั่วไป
อาการ บริเวณครีบต่างๆ จะมีลักษณะขาดเปื่อย
หากปล่อยไว้อาจจะลุกลามไปถึงโคนหางได้
ซึ่งจะทำให้การรักษาจะยากขึ้นและใช้เวลามากขึ้น
การรักษา เหมือนการรักษาโรคเชื้อราทั่วไป
โรคเชื้อแบคทีเรีย
เกิดจาก การติดเชื้อโรคจากการกินอาหาร หรือ
ความผิดปกติของระบบย่อยอาหาร
อาการ จะมีอาการท้องบวม หรือ ขี้ขาว
การรักษา ใช้ยาปฎิชีวนะ ออกซิเทตราไวคลิน หรือ
ใช้เกลือแกง ก็ได้ เพื่อทำให้การขับถ่ายดีขึ้น ช่วงเวลาดังกล่าว ควรจะให้อาหารเม็ด
และควรดูแลเรื่องความสะอาดของอาหารสด(โดยเฉพาะหน้าฝน)อาจนำมาแช่ด่างทับทิมอ่อนๆทุกครั้งประมาณ
5 นาที ก่อนให้เป็นอาหารของปลาสุดเลิฟของเพื่อนๆ
โรคปรสิต (หนอนสมอและพยาธิ)
เกิตขึ้นจาก เชื้อปรสิตพยาธิและหนอนสมอ
ซึ่งอาจจะติดมาจากปลาตัวอื่นๆที่พึ่งลงใหม่
อาการ ส่วนใหญ่จพบบริเวณเหงือกปลา
ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายเส้นด้ายเกาะอยู่ ซึ่งจะทำให้ปลาแกรนและตายในท้ายที่สุด
การรักษา
แนะนำให้ใช้ยาปฎิชีวนะที่หาซื้อได้ตามร้านขายอาหารปลาทั่วไป
เนื่องจากจะเป็นการรักษาที่ตรงจุดและมีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีอื่น(การใช้ด่างทับทิมหรือฟอมาลีน)
บาดแผลที่เกิดจากการกัดกัน
การรักษา แนะนำให้ใช้ยาเหลืองญี่ปุ่นนะครับ
เพราะจากประสบการณ์
จะทำให้หายเร็วและลดโอกาสการเป็นแผลเป็นในบริเวณส่วนสำคัญในตัวปลาอีกด้วย
และควรรักษาสภาพน้ำให้สะอาดอยู่เสมอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น