องค์ประกอบของการ จัดตู้ปลา
ตู้ปลา ที่นิยมมี 2 แบบ
1.แบบทรงกลม
2.ตู้ปลาแบบสี่เหลี่ยม ซึ่งมี 2 ลักษณะคือ
- ตู้ปลาแบบมีกรอบ
เป็นตู้ปลาแบบรุ่นเก่าทำด้วยกรอบอลูมิเนียมใช้ชันอุดตามรอยรั่วกันน้ำรั่วซึม
- ตู้ปลาแบบไม่มีกรอบ
นำกระจกมาต่อกันโดยใช้กาาวซิลิโคนเป็นตัวประสานเข้าด้วยกัน
2.ฝาปิดตู้ปลา
ทำด้วยพลาสติก
ช่วยป้องกันการระเหยของน้ำและป้องกันฝุ่นละอองจากภายนอก
3.เครื่องปั๊มอากาศ
การใช้เครื่อง ปั๊มอากาศ
- ควรติดตังให้สูงกว่าตัวปลา
เพื่อให้สะดวกในการดันอากาศ
- การติดตั้งเครื่องปั๊มอากาศ
ควรให้ห่างจากฝุ่นละออง เพราะฝุ่นละอองอาจทำให้เสียหายได้
อุปกรณ์ที่ติดมากับเครื่องปั๊มอากาศ
- สายออกซิเจน ต้องหาและไม่มีรอยรั่ว
- หัวทราย มีลักษณะเป็นทรงกลม มีรูพรุน
ทำหน้าที่ให้อากาศเป็นฟองฝอยเล็กๆ เพื่อให้ออกซิเจนสามรถละลายน้ำได้ดี
3.ข้อต่อ
เป็นตัวแยกอากาศจากเครื่องปั๊มไปในทิศทางที่ต้องการ
4.วาวล์ควบคุม
ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณอากาศที่ออกมาจากเครื่องปั๊ม ให้ออกมาตามความเหมาะสม
5.ระบบการกรองน้ำ มี 2 แบบ คือ
- ระบบการกรองภายในตู้ปลา
- แบบกรองน้ำใต้ทราย
ส่วนประกอบ
แผ่นกรอง ต้องเหมาะกับลักษณะของตู้ปลา
มีรูพรุนเล็กๆ สูงจากพื้ตู้ประมาณ 2-3 ซ.ม.
ท่อส่งน้ำ ทำงานร่วมกับแผ่นกรอง
สามารถปรับทิศทางของน้ำที่พ่นออกมาให้ได้ตามต้องการได้
สายอากาศ
เป็นสายทางเดินอากาศที่ต่อมาจากท่อปั๊ม
ระบบการทำงาน
เครื่องปั๊มอากาศจะอัดอากาศส่งไปตามสายอากาศที่เชื่อมระหว่างเครื่องปั๊มอากาศกับหัวครอบแผ่นกรองใต้ทราย
เมื่ออากาศถูกดันออกมาตามท่อส่งน้ำที่ถูกพ่นออกมาจะไหลเวียนเข้าไปอยู่ใต้แผ่นกรอง
ขณะเดียวกันน้ำที่อยู่เหนือแผ่นกรองและพวกสิ่งสกปรกก็จะถูกดูดลงไปแทนที่
ทำให้น้ำใสสะอาดอยู่เสมอ
- ระบบการกรองแบบกล่องใต้ตู้ ไม่เป็นที่นิยมมากนัก
การทำงานคล้ายระบบการกรองน้ำใต้ทราย ต่างกันเพียงระบบการกรองจะมีกล่องแยกต่างหาก
ภายในกล่องกรองจะใส่ใยแก้วและถ่านคาร์บอน ข้อดีก็คือ
สามารถถอดล้างทำความสะอาดได้ด้วย
- ระบบการกรองภายนอกตู้ปลา
ประสิทธิภาพในการกรองจะเหนือกว่าระบบการกรองที่กล่าวมาแล้ว สามารถกรองเศษอาหารปลา
มูลปลา กลิ่น สี ออกนอกตู้ปลาได้ดี อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กรอง คือ ถ่านคาร์บอน
และใยแก้ว
กรวด
เป็นวัสดุที่ตกแต่งให้ตู้ปลาดูเป็นธรรมชาติ กรวดที่ควรมีขนาด 3 มม.
ไม่ควรละเอียดและหยาบเกินไป
ควรใช้น้ำกรองหรือน้ำประปาที่ผ่านการกับไว้เพื่อให้คลอรีนระเหยออกไป
สำหรับ ส่วนประกอบ อื่น ไม่เหมาะ กับ การ
เลี้ยงหมอสี อาทิเช่น ต้นไหม้ ตอ ของประดับ ตู้ปลาอื่น ๆ มีเพียงแต่ ตู้ และ
ก้อนหิน ไว้ให้คาบเล่น หรือ พ่น ก็พอ
ถ้าเอาแบบตู้เดียวเลี้ยงชั่วชีวิตเลยควรจะเลือกตู้ขนาดที่ไม่ต่ำกว่า
36 นิ้วขึ้นไป ถ้าได้48หรือ60นิ้วไปเลยยิ่งดีแต่ถ้าหากจะเลี้ยงแบบค่อย ๆ
ขยับขยายกันไปขนาดโดยประมาณ คร่าวๆระหว่าง ตัวปลากับขนาดของตู้คือปลาต่ำกว่า 4
นิ้ว = ตู้ 24 นิ้ว / ปลาขนาด4-7 นิ้ว = ตู้30-36 นิ้ว-/ปลาขนาดใหญ่เกิน
7นิ้ว=ตู้36 นิ้วขึ้น ไปหากเลือกแบบแรก คือตู้ใหญ่ไปเลย ทีเดียวแต่หาก ต้องการ ขยับขยาย
ตู้ปลาตามไซส์ปลา ต้องพึ่งด้วยว่าอัตราการเจริญเติบโตเท่าไร น้ำคือสิ่งสำคัญมากที่สุดในการเลี้ยงปลา
นอกจากที่เราจะดูแลปลาแล้วเราต้องดูแลน้ำเพราะ100%
ชีวิตปลาต้องอาศัยอยู่ในน้ำน้ำเลยเป็นสิ่งสำคัญที่ปลาขาดไม่ได้ในเมื่อน้ำคือสิ่งที่จะต้องอยู่คู่กับปลาแล้วน้ำที่เหมาะ
สมที่สุดในการเลี้ยงคือ
น้ำก๊อกหรือน้ำประปาแต่ต้องเป็นน้ำประปาที่ไมมี่คลอรีนเท่านั้นวิธีการลดคลอรีน
แค่หาภาชนะอะไรก็ได้สำหรับกักน้ำไว้ในปริมาณที่เราต้องการวางไว้ในที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวกปล่อยทิ้ง
ไว ้2-3 วัน คลอรีนก็ระเหยไปหมด (ใช้เวลาระเหยนานแค่ไหนอยู่ที่ ปริมาณการใส่คลอรีน
จากต้นทาง แต่บ้านที่อยู่ใกล้คลองประปาส่วนใหญ่คลอรีนจะเยอะ)
ถ้าอยากให้ระเหยเร็วขึ้นอีก ก็หาปั๊มลม สำหรับใส่ตู้ปลาพร้อมกับเปิดหัวทรายแรงๆทิ้งไว้ในน้ำซัก
1 - 2 วัน คลอรีนก็ จะหายหมด ส่วนวิธีที่เร็วขึ้นอีกคือการใช้สารเคมีมาช่วยลดคลอรีนในน้ำ
สารเคมีที่มีวางขายทั่วไปตามท้องตลาดจะมีหลักๆ2ประเภทคือ
น้ำยาคลอรีน และ เกล็ดคลอรีน ซึ่งก็สามารถนำมาใช้ได้ทั้ง2ชนิด แบบเกล็ดจะมีราคาถูกกว่าก็จริงแต่ถ้าใส่ไม่เป็นนอกจากน้ำจะเป็นสีขุ่น
หรือเกิดฟองแบบผิดปกติในตู้แล้วปลาก็อาจจะมีอาการลอยคอและถึงตาย ได้
สำหรับมือใหม่อยากจะแนะนำให้ใช้สารลดคลอรีนแบบน้ำเพื่อที่จะดูปริมาณการใส่จากข้างขวดได้เลยใช้ง่ายแล้วก็สะดวก
วิธีใช้ก็แค่ใส่ลง ไปขณะกำลังเติมน้ำใหม ่
เข้าตู้เปิดปั๊มลมหรือเปิดกรองเดินน้ำไว้ ซัก 5-10 นาทีก็ใช้ได้แล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น