วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

โรคที่พบบ่อยในปลาปอมปาดัวร์(รวมถึงปลาสวยงามทั่วไป)



โรคจุดขาว
เกิดขึ้นจาก การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว ซึ่งเกิดจากสัตว์เซลล์เดียวที่นิยมเรียกกันสั้นๆว่า อิ๊ค ซึ่งตัวอ่อนจะฝังตัวอยู่บริเวณลำตัวรวมทั้งครีบต่างๆ ทำให้สังเกตุเห็นได้เป็นจุดขาวขนาดเล็กซึ่งจะลุกลามอย่างรวดเร็วจนทั่วตัวปลา เมื่อ อิ๊ค เติบโตเต็มที่จะหลุดออกจากตัวปลาซึ่งจะกระจายตัวอยู่ในน้ำและขยายพันธ์อย่างรวดเร็ว
อาการ ปลาที่ป่วยจะมีจุดสีขาวตามตัวและมีพฤติกรรมการว่ายน้ำผิดปกติ ใช้ตัวถูกับ หิน กระจกตู้ หรือวัสดุต่างๆภายในตู้ปลา ซึ่งอาจทำให้เกิดแผลทำให้ปลาขาดความสวยงามและเกิดโรคอื่นๆแทรกซ้อนได้
การรักษา นิยมใช้เกลือแกงซึ่งหาซื้อได้ตามตลาดทั่วไป ประมาณ 1 ช้อนโตะต่อน้ำ 30 ลิตร (หรือมาลาไคร์กรีนหรือซุปเปอร์อิ๊ค ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์และอาหารปลาทั่วไป) และ ใส่ฮีทเตอร์โดยให้อุณหภูมิอยู่ที่ 27-30 องศาเซียลเซียส เปลี่ยนน้ำทุกๆ 3วัน 30%ของตู้ปลา โดยค่อยๆเปิดเติมเพื่อให้ปลาปรับสภาพน้ำใหม่ ควรลดอาหารเพื่อไม่ให้ตู้สกปรกด้วย ประมาณ 2อาทิตย์ก็จะเป็นปกติ
โรคสนิม
เกิดขึ้นจาก สัตว์เซลล์เดียวที่มีรูปร่างกลมรี ซึ่งจะเกาะอยู่ตามผิวหนัง ครีบ ลำตัวปลา
อาการ จะมีละอองสีเหลืองคล้ายกำมะหยี่เกาะอยู่ทั่วตัว
การรักษา ใช้เกลือแกงเข้มข้น หรือ ยาเหลืองญี่ปุ่น หรือใช้ทั้งสองอย่างร่วมกันก็ได้
โรคเชื้อรา
เกิดขึ้นจาก การที่ปลามีสภาพอ่อนแอ หรือ ได้รับบาดเจ็บ
อาการ บริเวณผิวหนังจะเป็นปุยสีขาวคล้ายสำลี
การรักษา ใช้มาลาไคร์กรีน หรือ เกลือแกงประมาณ 1ช้อนโตะต่อน้ำ 30 ลิตร และควรเปลี่ยนน้ำทุกๆอาทิตย์
โรคครีบเปื่อย หางเปื่อย
โรคครีบเปื่อยหางเปื่อย ถือเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง ซึ่งมีสาเหตุเหมือนซึ่งมีสาเหตุเหมือนโรคเชื้อราทั่วไป
อาการ บริเวณครีบต่างๆ จะมีลักษณะขาดเปื่อย หากปล่อยไว้อาจจะลุกลามไปถึงโคนหางได้ ซึ่งจะทำให้การรักษาจะยากขึ้นและใช้เวลามากขึ้น
การรักษา เหมือนการรักษาโรคเชื้อราทั่วไป
โรคเชื้อแบคทีเรีย
เกิดจาก การติดเชื้อโรคจากการกินอาหาร หรือ ความผิดปกติของระบบย่อยอาหาร
อาการ จะมีอาการท้องบวม หรือ ขี้ขาว
การรักษา ใช้ยาปฎิชีวนะ ออกซิเทตราไวคลิน หรือ ใช้เกลือแกง ก็ได้ เพื่อทำให้การขับถ่ายดีขึ้น ช่วงเวลาดังกล่าว ควรจะให้อาหารเม็ด และควรดูแลเรื่องความสะอาดของอาหารสด(โดยเฉพาะหน้าฝน)อาจนำมาแช่ด่างทับทิมอ่อนๆทุกครั้งประมาณ 5 นาที ก่อนให้เป็นอาหารของปลาสุดเลิฟของเพื่อนๆ
โรคปรสิต (หนอนสมอและพยาธิ)
เกิตขึ้นจาก เชื้อปรสิตพยาธิและหนอนสมอ ซึ่งอาจจะติดมาจากปลาตัวอื่นๆที่พึ่งลงใหม่
อาการ ส่วนใหญ่จพบบริเวณเหงือกปลา ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายเส้นด้ายเกาะอยู่ ซึ่งจะทำให้ปลาแกรนและตายในท้ายที่สุด
การรักษา แนะนำให้ใช้ยาปฎิชีวนะที่หาซื้อได้ตามร้านขายอาหารปลาทั่วไป เนื่องจากจะเป็นการรักษาที่ตรงจุดและมีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีอื่น(การใช้ด่างทับทิมหรือฟอมาลีน)
บาดแผลที่เกิดจากการกัดกัน

การรักษา แนะนำให้ใช้ยาเหลืองญี่ปุ่นนะครับ เพราะจากประสบการณ์ จะทำให้หายเร็วและลดโอกาสการเป็นแผลเป็นในบริเวณส่วนสำคัญในตัวปลาอีกด้วย และควรรักษาสภาพน้ำให้สะอาดอยู่เสมอ

วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ปลาสะงัว

เพื่อนๆครับคนชอบปลามีปลาน้ำจืด ซึ่งเป็นปลาไทยทีมีรูปร่างแปลกค่อนข้างหายากและน่าสนใจ มาแนะนำให้เพื่อนๆรู้จัก ได้แก่ ปลาสะงัว







ชื่อไทย                ปลาสะงัว  ปลาด่านแดง  ปลานางแดง
ชื่อสามัญ             Black Ghost Catfish
ชื่อวิทยาศาสตร์     Hemisilurus mekongensis
ถิ่นอาศัย              ในแม่น้ำโขงและลำน้ำสาขาใหญ่ ตั้งแต่จีนตอนใต้ ลาว พม่า ไทย กัมพูชา และอาจจะถึงเวียดนามใต้


ขนาด                โตเต็มที่ยาวประมาณ 40-50 เซนติเมตร
ปลาสะงัว เป็นปลาหนัง (Catfish ) ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน ( Family Siluridae ) มีรูปร่าง แบนข้าง เหมือนปลาเนื้ออ่อนทั่วไป ส่วนหัวมุมปากอยู่ด้านล่างค่อนข้างเล็ก มีหนวดหนึ่งคู่ เห็นได้ชัดเจน
ซึ่งหนวดมีความแตกต่างในปลาทั้ง 2เพศ
- ปลาตัวเมีย ที่ตัวเต็มวัยขนาดความยาวกว่า 30 ซม.ส่วนปลายของหนวดจะแบนข้างและแตกเป็นฝอย
- ปลาตัวผู้ และปลาตัวเมียขนาดไม่เต็มวัย หนวดจะเป็นเส้นเดี่ยวปกติ มีครีบเพียง 6 ครีบ ไม่มีครีบหลัง สีของลำตัวเมื่อจับได้ใหม่จะเป็นสีม่วงอมชมพู แต่เมื่อนำมาเลี้ยงในน้ำใส ปลาจะเปลี่ยนสีจนเป็นสีดำคล้ำ ตามีขนาดค่อนข้างเล็ก และมีรูจมูกอยู่ 2 คู่
ปลาสะงัว จัดเป็นปลาที่พบได้ค่อนข้างน้อย มีรูปร่างแปลกตา มีนิสัยปราดเปรียว และว่องไว โดยเฉพาะเวลาตกใจ กินอาหารจากหน้าดิน หรือกลางน้ำ แต่จะไม่ขึ้นมากินบนผิวน้ำ เป็นปลาที่มีนิสัยไม่ดุร้าย
การเลี้ยงปลาสะงัว
สภาพน้ำ   น้ำสะอาดที่มีระบบกรองที่ดีไม่มีกรด หรือด่างมากเกินไป อุณหภูมิ 22 - 28 องสาเวสเซียส
ขนาดตู้     ควรใช้ตู้ค่อนข้างใหญ่ ขนาดไม่ควรต่ำกว่า 30 นิ้วขึ้นไป ควรมีฝาปิดมิดชิด ไม่ควรมีแสงสว่างมากเกินไป
สภาพแวดล้อม   ควรจัดค่อนข้างโล่ง ไม่ควรใช้หินหรือตอไม้ที่แหลมคม เพราะปลาจะชนเกิดบาดแผลได้ง่าย
อุปนิสัย   ในที่เลี้ยง เป็นปลาไม่ดุร้าย ในทางตรงกันข้ามมักจะถูกปลาอื่นกัด ทำร้าย ควรเลี้ยงปนกันหลายตัว หรือปนกับปลาในสกุลเนื้ออ่อนชนิดอื่นที่มีขนาดไล่เลี่ยกัน
อาหาร  อาหารเป็นชนิดต่างๆดดยเแพาะที่อยู่ตามพื้นด้านล่าง เช่น กุ้งฝอย หนอนแดง ไส้เดือนน้ำ ไรทะเล ไม่ชอบกินอาหารบนผิวน้ำ
ข้อระวัง  ปลาสะงัว เป็นปลาที่อ่อนแอโดยเฉพาะช่วงแรกที่ถูกจับได้ใหม่ๆ ต้องการลำเลียงอย่างพิถีพิถัน นอกจากนี้ยังติดเชื้อและเป็นโรคจุดขาวได้ง่ายมาก ระวังและป้องกันตั้งแต่แรกจะทำให้ปลารอดได้
เพื่อนๆคiy[ปลาสะงัวนี้เป็นทั้งปลาสวยงามทั้งเลี้ยงดู และรับประทานได้ด้วย เป็นปลาประเภทเดียวกับกับปลาเนื้ออ่อน เป็นปลาสายพันธุ์ไทยแท้ ...เพื่อนๆสนใจเลี้ยงเหมือน คนชอบปลา มั้ยครับ.....


วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ปลาแมวกระโดงสูง




  ปลาแมวกระโดงสูง เป็นปลา Catfish ที่ มีแหล่งอาศัยอยู่ตามโขดหินในธรรมชาติ ที่เป็นแม่น้ำ โดยหากินตัวอ่อนแมลงต่างๆในน้ำเป็นอาหารหรือบางครั้ง ก็หากินตะไคร่น้ำด้วย โดยปลาชนิดนี้ จะชอบอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำใหลมาก และในธรรมชาติ จะอาศัยรวมกันอยู่เป็นกลุ่มเล็กๆตามพื้นท้องน้ำ

  ปลาชนิดนี้สามารถเติบโตได้ถึง 30 เซนติเมตร หรือ ประมาณ 11 นิ้วในธรรมชาติ แต่ในตู้เลี้ยง ค่าเฉลี่ย ก็จะอยู่ที่ประมาณ 15 - 20 เซนติเมตรหรือ 6- 8 นิ้วนั่นเอง ซึ่งโดยปกติแล้วปลาชนิดนี้ จะมีอายุขัยเฉลี่ยประมาณที่ 8 ถึง 10 ปี แต่ก็มีรายงานว่า พวกมันสามารถมีอายุได้ถึง 25 ปีเลย
ทีเดียว ถ้าได้รับการดูแลเป็นอย่างดี ซึ่งในการดูแลรักษาปลาชนิดนี้นั้น คุณภาพน้ำ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก สำหรับการที่จะทำให้มันมีชีวิตที่ยืนยาวอย่างที่เราต้องการ ในที่เลี้ยงสามารถปูพื้นทรายบางๆ ให้พวกเขาได้ พร้อมกับแหล่งหลบซ่อนตัวเช่น ก้อนหิน หรือ ขอนไม้ ประดับตบแต่งในตู้รวมทั้งต้นไม้น้ำชนิดใบแข็ง ส่วนการดูแลเปลี่ยนน้ำนั้น ก็อาจจะทำซักสัปดาห์ละครั้งก็ได้ ครั้งละไม่มาก อันนี้ผู้เลี้ยงต้องพิจารณาเอาตามแต่การเลี้ยงของตัวเองครับ ตู้เลี้ยงก็ขนาดซัก 50 แกลลอนขึ้นไป ก็จะเป็นการดีครับ ส่วนค่า ph ในตู้ก็ประมาณ 5.6 - 7.5 จะเหมาะสมกับเขาที่สุดครับส่วนค่าความกระด้างของน้ำ ก็ประมาณ  8 - 20 dGH

 อาหารการกิน สำหรับปลาชนิดนี้นั้น นับว่าเป็นปลาที่สามารถให้อาหารได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอาหารเม็ด หรือ อาหารสด แต่จะชอบอาหารสดที่เป็นตัวอ่อนแมลงเป็นอย่างมาก เช่น หนอนแดง หรือ พวกกุ้งฝอย ก็สามารถให้เขาทานได้ครับ


 และสำหรับบรรดาเพื่อนร่วมรุ่น เอ๊ย เพื่อนร่วมตู้ของเขานั้น ก็อาจจะเป็นพวกปลาที่หากินหน้าดินเหมือนกัน ที่ไม่ดุร้าย เช่น ปลาในตระกูลปลาแพะ หรือปลาดุกที่ไม่ดุ หรือมีขนาดใกล้เคียงกัน ก็สามารถนำมาเลี้ยงรวมกับเขาได้ครับ 

ปลาแพะ นักเก็บกวาดประจำตู้





          สวัสดีครับเพื่อนๆที่รักในปลาสวยงามทุกท่าน  ในฉบับนี้เรามาพุดถึงเรื่องปลาแพะ   เมื่อตอนพูดถึงปลาแม่บ้าน ปลาแม่บ้านไม่ใช่ปลาถูพื้นเช็ดกระจก เสิร์ฟกาแฟ แต่ปลาแม่บ้านคือ ปลาที่มีหน้าที่ทำความสะอาดในตู้หรือบ่อปลาด้วยการกินเอาเศษอาหารตกหล่นบ้าง ตะไคร่น้ำที่เกาะตามผิวกระจกบ้างเป็นอาหารหลัก พฤติกรรมในแบบธรรมชาติของมันทำให้ตู้ปลาของเราสะอาดดูดีขึ้นโดยที่เราไม่ต้องเข้าไปยุ่งวุ่นวายเลยสักนิด

            ปลาที่จัดอยู่ในกลุ่มปลาแม่บ้านมีหลายชนิดมากครับ แต่โดยหลักๆ แล้วก็จะทำหน้าที่ไม่กี่อย่าง ปลาแพะ เป็นหนึ่งในนั้น คุณสมบัติโดดเด่นของมันคือเป็นปลาที่ชอบเก็บเศษอาหารตามก้นตู้กินมากกว่าที่จะว่ายขึ้นมาบนผิวน้ำอย่างปลาชนิดอื่นๆ เขา (แต่ก็มีบ้างเหมือนกันที่ปลาถูกเลี้ยงจนเชื่องทำให้ลืมกำพืดตัวเอง เผยอหน้าขึ้นมากินอาหารร่วมกับปลาไฮโซ) ทำให้บริเวณพื้นตู้ซึ่งบางครั้งก็ปูด้วยกรวดบ้างทรายบ้าง สะอาดหมดจดปราศจากเศษอาหารตกหล่นคั่งค้างจากการกินเหลือทิ้งขว้างของปลาตัวอื่นๆ อันจะเป็นสาเหตุของการเน่าเสียของน้ำเร็วขึ้น




        ปลาแพะ มีขนาดเล็ก และนิสัยไม่ดุร้าย จึงทำให้เข้ากับปลาอื่นได้เกือบทุกชนิดที่ไม่ใช่ปลากินเนื้อหรือดุเกรี้ยวกราดไร้เหตุผล และเหมาะอย่างยิ่งกับตู้ที่จัดตกแต่งไว้อย่างรกครึ้ม เช่น ตู้พรรณไม้น้ำหรือตู้แบบป่าฝนเขตร้อนที่มักจัดด้วยขอนไม้และพืชน้ำสลับซับซ้อนจนมองแทบไม่เห็นพื้นกรวด และการทำความสะอาดตู้ก็มักอาศัยวิธีเปลี่ยนถ่ายน้ำเพียงส่วนเดียว ไม่สามารถใช้สายยางลักน้ำ (Water Siphon) ดูดเอาของเสียจากใต้พื้นกรวดออกมาได้เลย ปลาแพะจะมีบทบาทมากเพราะสามารถซอกซอนชอนไชกินเศษอาหารได้ทุกหลืบมุม จนกลายเป็นแม่บ้านขวัญใจของนักเลี้ยงตู้พรรณไม้น้ำมานานปี

        ปลาแพะ จัดอยู่ในกลุ่มของปลาหนัง (catfish) หรือปลาไม่มีเกล็ดขนาดเล็ก แต่มันก็สามารถพัฒนาผิวหนังไร้เกล็ดของมันให้แข็งเหมือนเกราะเพื่อปกป้องอันตรายจากศัตรูได้ดียิ่งกว่าเกล็ดจริงๆ เสียอีก อาวุธป้องกันตัวของมันแทบไม่มีอะไรนอกเหนือไปจากก้านแข็งของครีบว่ายน้ำ ทำให้ปลาอื่นที่หวังจะเคลมมันเข้าท้องทำได้ด้วยความยากลำบาก ผมเคยเห็นปลาทองจอมซุ่มซ่ามเผลอเขมือบเอาเจ้าแพะน้อยเข้าปากด้วยเข้าใจว่าเป็นอาหาร ปลาแพะตัวนั้นไม่ได้ใหญ่คับปากแต่อย่างใด แต่ก้านครีบแข็งของมันนั้นยาวพอที่จะค้ำกระพุ้งแก้มปลาทองเอาไว้จนกลืนก็ไม่เข้าและคายก็ไม่ออก สุดท้ายก็เลยเดินทางไปสู่ยมโลกพร้อมกันอย่างน่าเศร้าใจ




       ลักษณะภายนอกของปลาแพะนั้นดูตลก รูปร่างของมันค่อนข้างป้อม ลำตัวกลม ส่วนหัวค่อนข้างโตกว่าลำตัว ที่ปากมีหนวดสั้นๆ ยื่นออกมาสำหรับคลำหาอาหาร หนวดที่ว่านี้ดูผิวเผินคล้ายเคราของแพะ นักเลี้ยงปลาบ้านเราเลยนิยมเรียกเจ้าปลาชนิดนี้ว่า "ปลาแพะ" ในขณะที่ฝรั่งจะเรียกมันว่า "คอรี่" ซึ่งก็มาจากชื่อสกุลของมันคือ Corydoras นั่นเอง

       ปลาแพะ เป็นปลาขนาดเล็ก โดยเฉลี่ยมีความยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร แต่ก็มีบางชนิดที่อาจใหญ่กว่านั้นเล็กน้อย ปลาแพะ มีจำนวนชนิดพันธุ์มากมายหลายสิบชนิด แต่ละชนิดแตกต่างกันทางรูปร่างและลวดลายสีสัน บางชนิดอ้วนป้อมมาก เช่น แพะเขียวโบรคิส (Brochis splendens) ซึ่งเป็นแพะที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โตเต็มที่ตัวเมียจะมีความยาวถึง 9 เซนติเมตร จึงได้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า เซนติเมตรเซนติเมตร "ปลาแพะยักษ์" ส่วนแพะที่มีรูปร่างตรงกันข้ามกันคือ แพะบาร์บาตัส (Corydoras barbatus) ซึ่งมีลำตัวเรียวยาวผอมเพรียวลม




        แหล่งอาศัยตามธรรมชาติของปลาแพะอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ โดยเฉพาะลุ่มน้ำอะเมซอนที่มีสาขามากมายกว้างใหญ่ไพศาล พวกมันจะหากินเป็นฝูงตามหน้าดิน โดยใช้ซากต้นไม้ใบไม้ที่ซ้อนทับถมกันเป็นเครื่องกำบังซ่อนตัวจากผู้ล่า ปลาตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ รูปร่างอ้วน ท้องกลมจนดูหัวเล็ก ส่วนตัวผู้ลำตัวจะเรียวกว่ามาก

        ปลาแพะ เลี้ยงง่าย มีความอดทนสูง ไม่ค่อยจะมีปัญหามากนัก แม้กระทั่งในบ่อที่ออกซิเจนต่ำก็สามารถเอาตัวรอดได้เป็นอย่างดี เพราะมีอวัยวะช่วยหายใจพิเศษ และหากเศษอาหารไม่ค่อยจะมีให้กิน พวกมันก็ยังสามารถปรับตัวโผขึ้นมาแย่งอาหารจากผิวหน้าน้ำเหมือนกับปลาอื่นๆ ได้เช่นกัน การเลี้ยงปลาแพะควรระมัดระวังเรื่องของกรวดที่ใช้ปูพื้น หลีกเลี่ยงกรวดมีคมหรือหินเกล็ดซึ่งอาจทำอันตรายกับหนวดของปลาแพะเวลาคุ้ยหาอาหารได้ ในธรรมชาติปลาแพะไม่ค่อยชอบแสง ในตู้ควรมีวัสดุตกแต่งจำพวกพืชน้ำ ขอนไม้ หรือก้อนหินใหญ่ เพื่อพรางแสงลงและเพื่อให้ปลาได้ใช้หลบซ่อนตัวเวลาที่มันกินอิ่มต้องการพักผ่อน ปลาแพะเลี้ยงรวมกับปลาอื่นๆ ได้แทบทุกชนิดที่ไม่ดุร้าย อาหารของมันนอกจากเศษตกๆ หล่นๆ ที่ปลาอื่นในตู้กินเหลือแล้วอาจจะต้องเสริมเพิ่มพิเศษให้บ้างเพื่อความสมบูรณ์ของตัวมันเอง ในธรรมชาติปลาแพะกินสิ่งมีชีวิตที่หลบซุกซ่อนตัวอยู่บริเวณผิวหน้าของดิน เช่น ตัวอ่อนแมลงน้ำ ไส้เดือน และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เราอาจเสริมอาหารปลาแพะด้วยไส้เดือนน้ำโดยโรยไส้เดือนลงบนพื้นกรวดโดยตรงเพื่อให้ไส้เดือนชอนไชลงใต้ผิวกรวด ปลาแพะจะใช้หนวดของมันคลำหาและจับกินด้วยพฤติกรรมตามอย่างธรรมชาติของมัน นอกเหนือจากไส้เดือนน้ำอาจสลับให้อาหารสำเร็จรูปที่ออกแบบมาสำหรับปลาแพะโดยเฉพาะซึ่งมีขายทั่วไปตามร้านขายปลา ลักษณะคล้ายแผ่นกลมๆ เล็กๆ อัดแน่น จมน้ำเร็วแต่ละลายช้ามาก อาหารประเภทนี้มีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสมกับปลาแพะมากที่สุด แต่ก็อาจจะราคาสูงสักนิด การให้ไม่จำเป็นต้องให้ทุกมื้อหรือทุกวัน แต่ให้แบบสลับนานๆ ที เพื่อให้ปลามีสุขภาพแข็งแรงอ้วนท้วนและอายุยืนนาน ปลาแพะที่ถูกเลี้ยงสมบูรณ์ดีจะมีชีวิตอยู่ได้นานถึงสิบปีทีเดียวเชียวครับ

           การผสมพันธุ์ของปลาแพะทำได้เป็นบางชนิด ปลาตัวเมียเมื่อมีไข่สุกท้องจะอวบอูมป่องออกมาผิดสังเกต ในระยะนี้จะมีแพะตัวผู้เข้าไปเคลียคลอก้อร่อก้อติกอยู่เกือบตลอดเวลาและมักมีตัวผู้มากกว่าหนึ่งตัวต่อการผสมพันธุ์หนึ่งครั้ง เมื่อถึงเวลา ปลาตัวผู้จะเข้าไป สั่นร่างเป็นสัญญาณเชิญชวน และถ้าตัวเมียพร้อมมันก็จะมีปฏิกิริยาตอบสนองด้วยการขยับเข้าหา ตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อออกให้ตัวเมียอมไว้ในปาก จากนั้นตัวเมียจะออกไข่มาจำนวนหนึ่งแล้วอุ้มไว้ด้วยครีบท้องที่มีลักษณะกลมกว้างคล้ายตะกร้า มองหาทำเลวางไข่ซึ่งก็มักจะเป็นบริเวณที่มีพรรณไม้ร่มครึ้มและมีใบแผ่ เช่น ต้นอะเมซอน (Echinodoras spec.) พอเจอที่จะวางไข่ แม่ปลาจะพ่นน้ำเชื้อในปากลงบนใบไม้ก่อนเอาไข่ที่อุ้มไว้แปะลงไป หลังจากนั้นก็ทำวิธีการเดียวกันซ้ำอีกเรื่อยๆ จนกระทั่งไข่หมดท้อง ซึ่งก็จะมีราวๆ 300 ฟอง พวกมันไม่ค่อยสนใจดูแลไข่นัก ปล่อยให้ฟักเป็นตัวออกมาเองภายในสามวัน ลูกปลาระยะแรกจะยังมีถุงอาหารที่เรียกว่าถุงไข่แดงติดอยู่ตรงท้อง และจะใช้อาหารเหล่านี้หมดไปภายในสามสี่วัน หลังจากนั้นก็จะต้องว่ายหาจับกินแพลงตอนที่ลอยมาตามน้ำกินกันไปตามอัธยาศัย

         ปลาแพะ ที่มีเลี้ยงกันทั่วไปและราคาไม่แพงเลยก็คือ ปลาแพะสีบรอนซ์ หรือแพะเอนีอุส (Corydoras aeneus) บ้านเราเรียกว่า "แพะเขียว" ซึ่งก็มีสายพันธุ์ที่ผ่าเหล่าออกมาจากเอนีอุสเป็นปลาเผือก (Albino) ลำตัวสีขาวนวลอมชมพูนัยน์ตาสีแดง ก็เรียกว่า "แพะเผือก" สองตัวนี้เพาะง่ายที่สุด สามารถเพาะเล่นๆ ในตู้ได้เลย ถ้าปลามีอายุมากพอ ส่วนปลาแพะอื่นๆ โดยมากมักเพาะพันธุ์ยากถึงยากมาก บางชนิดถึงได้มีราคาแพง ตัวหนึ่งเป็นร้อยๆ บาท ในขณะที่แพะเขียวแพะเผือกแค่ไม่กี่บาท แต่ทุกชนิดเลี้ยงง่ายเหมือนกันหมดครับ


       สำหรับใครที่สนใจจะรับเจ้าปลาแพะมาเลี้ยงเพื่อเป็นเมทให้ปอมน้อยนั้น แนะนำว่าเลือกตัวใหญ่สักนิดครับ แล้วจะเกิดการสูญเสียน้อยกว่าเอาตัวเล็กๆมาลงครับผม

วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ปลาหมอไตรมาคู




ปลาหมอไตรมาคู หรือ ปลาหมอตาแดง (อังกฤษ: Three-spot cichlid, Trimac cichild; ชื่อวิทยาศาสตร์: Cichlasoma trimaculatum) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae)
ปลาหมอไตรมาคู เป็นปลาหมอสีชนิดหนึ่งที่เมื่อโตเต็มที่แล้วมีขนาดใหญ่ ถือเป็นต้นสายพันธุ์ของปลาหมอฟลาวเวอร์ฮอร์น ซึ่งเป็นปลาหมอลูกผสมหรือครอสบรีดในปัจจุบัน และถือเป็นปลาหมอสีชนิดที่มีลักษณะใกล้เคียงกับปลาหมอฟลาวเวอร์ฮอร์นมากที่สุด
ปลาหมอไตรมาคู ถูกค้นพบและตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ โดย อัลเบิร์ต กึนเธอร์ นักมีนวิทยาชาวเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1896 มีถิ่นกระจายพันธุ์ในแถบอเมริกากลาง ในประเทศเม็กซิโกและเอลซัลวาดอร์ มีลักษณะเด่น คือ หัวมีความโหนกนูน ซึ่งจะเริ่มปรากฏเมื่อปลามีความยาวได้ 9-10 นิ้ว ซึ่งเป็นช่วงที่ปลาจะเจริญเติบโตเร็วมาก จนกระทั่งถึง 14 นิ้ว จึงจะชะลอลง สีลำตัวมี 2 สี สีเหลืองออกส้มอ่อน ๆ โดยบริเวณลำคอเป็นสีแดงเล็กน้อย และอีกสีหนึ่ง คือ เหลือบสีเขียวออกดำ และบริเวณคอจะเป็นสีแดงเข้ม มีจุดสีดำคาดกลางลำตัว และมีจุดลักษณะคล้ายมุกอยู่รอบ ๆ จุดดำนั้น ดวงตาสีแดงสดใส
มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 35 เซนติเมตร ปลาตัวเมียจะมีครีบกระโดงหลังเป็นจุดสีดำ 2 จุด ขณะที่ปลาตัวผู้จะไม่มีจุดดังกล่าว เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 6 เดือน โดยปลาจะวางไข่ติดไว้กับพื้นหรือวัสดุต่าง ๆ ใต้น้ำ ซึ่งการวางไข่แต่ละครั้งจะออกโดยเฉลี่ยครั้งละ 1,000 ฟอง มากน้อยขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของตัวแม่ปลา ซึ่งสัมพันธ์กับอายุและสุขภาพ

วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

อาหารสำหรับปลาตู้

การให้อาหารปลาที่เลี้ยงในตู้กระจกเป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับผู้เลี้ยงปลาตู้ที่ต้องการให้ความสำคัญและสนใจ ซึ่งจะแบ่งได้ 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

1). กลุ่มอาหารเป็น ได้แก่ สัตว์เล็กๆ ที่มีชีวิต แล้ใช้เป็นอาหารได้ เช่น

ไรแดง เป็นสัตว์น้ำขนาดเล็กมีสีแดง พบมากในน้ำครำหรือคูน้ำ โดยใช้สวิงตาถี่ช้อนตามผิวน้ำในตอนเช้า หรือมีจำหน่ายตามร้ายขายปลาสวยงามทั่วไป เหมาะกับปลาที่มีขนาดเล็ก

ลูกน้ำ เป็นตัวอ่อนของยุง พบได้ทั่วไปตามแหล่งน้ำขังต่างๆ

หนอนแดง เป็นตัวอ่อนของริ้นน้ำจืด มีสีแดง พบได้ทั่วไปตามพื้นที่ที่มีน้ำขังเป็นเวลานาน เป็นโคลน ชอบอยู่ตามร่องน้ำทั่วไป เวลาจับต้องหาตะแกรงตักแล้วนำมาร่อนให้เศษดิน ผงหรือขยะหลุดออก เราจะเห็นหนอนแดงติดต้างอยู่ หรือตามร้านขายปลาสวยงามทั่วไป

กุ้งฝอย เป็นกุ้งน้ำจืดที่มีขนาดเล็ก พบอยู่ตามบ่อ สระน้ำ หรือตามท้องนา หรือมีจำหน่ายตามตลาดสด เป็นอาหารที่เหมาะกับปลาตู้ขนาดใหญ่ที่เป็นปลาประเภทกินเนื้อ

ใส้เดือนดิน เป็นอาหารที่เหมาะกับปลาตู้ชนิดหนึ่ง ถ้าเป็นใส้เดือนขนาดใหญ่ ก่อนให้ปลาควรสับให้เป็นชิ้นที่มีขนาดพอเหมาะก่อนจึงให้เป็นอาหารปลา

ตัวอ่อนดักแด้ ของแมลงอีกหลายชนิด ก็สามารถนำมาใช้เป็นอาการปลาตู้ได้

2). กลุ่มอาหารแห้ง เป็นอาหารสำเร็จรูปที่ผลิตขึ้นมาโดยกรรมวิธีต่างๆ หลายๆ ชนิดที่ทำออกมาเป็นอาหารที่มีคุณค่ากับความต้องการของปลาในรูปแบบต่างๆ กันเช่น

ชนิดเม็ดจม เป็นอาหารเม็ดกลมมีหลายขนาด แตกต่างไปตามชนิดและขนาดของปลา แต่เม็ดจะจมน้ำเหมาะสำหรับปลาที่หากินตามพื้นผิวดิน อาหารเม็นได้มีการพัฒนา จนมีคุณสมบัติพิเศษ สามารถยึดติดหรือแตะไว้ตามข้างฝาตู้เป็นเวลานานและปลาจะมารุมกินหรือตอดกินอาหารประเภทนี้เป็นฝูง ๆ

ชนิดเม็ดลอย เป็นอาหารเม็ดกลม มีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถลอยน้ำได้ และคงสภาพรูปเดิมอยู่ในน้ำได้เป็นเวลานาน ส่วนใหญ่เป็นอาหารสำหรับปลารุ่น หรือปลาใหญ่

ชนิดผง มีลักษณะเป็นผงเล็ก ๆ มีขนาดไล่เลี่ยกับขนาดของนมผง ละลายน้ำได้ดี ส่วนใหญ่ทำจากสาหร่ายเกลียวทองหรือจากไข่เวลาใช้ก็โดยการนำเอาอาหารผงมาละลายน้ำ และใส่ลงในตู้ให้ลูกปลากินเป็นอาหารที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับลูกปลาวัยอ่อนโดยเฉพาะ

ชนิดแผ่น เป็นผลิตภัณฑ์ที่ส่วนใหญ่ทำขึนจากไข่ หรือตัวขิงสัตว์ในตระกูลกุ้ง มีลักษณะเป็นแผ่นเล็ก ๆ ใช้มือบี้หรือขยี้อาหารชนิดนี้ให้เป็นชิ้นเล็กก่อนนำไปให้เป็นอาหารปลา


3). กลุ่มผักสด จำพวกพรรไม้น้ำหรือผักบางชนิดที่จะใช้เป็นอาหารให้ปลาตู้ได้ ซึ่งโดยปรกติแล้ว ปลาตู้ซึ้งเป็นปลากินเนื้อและพืช ชอบกินพวกผัก และปลาบางชนิดก็ต้องการอาหารที่มีผักสดผสมอยู่เป็นประจำ พวกพืชสดที่นิยมใช้ ได้แก่ ถั่วงอก ผักกาดหอม กะหล่ำปลี ผักกาดขาว ผักบุ้ง แหนเป็ด เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เพาะพันธุ์ปลาริวกิ้น


เพื่อนๆครับ ในบรรดาปลาสวยงามทั้งหมด ปลาทองเป็นปลายอดนิยมที่คนนิยมเลี้ยงมากที่สุด คนชอบปลา อยากจะแนะนำวิธี การเพาะพันธุ์ปลาริวกิ้น ให้ทราบครับ







ปลาริวกิ้น เป็นปลาทองที่ได้รับความนิยมแพร่หลายทั้งใน และต่างประเทศโดยเฉพาะญี่ปุ่น ปลาริวกิ้นเป็นปลาที่มีรูปร่าง สีสันสวยงาม และน่ารัก มีรูปร่างกลมและสั้น หางจะยาวและบานมากเป็นพิเศษ ปลาที่ดีจะมีลักษณะหัวเล็ก เกล็ดหนาขึ้นเป็นระเบียบ ปลาริวกิ้นส่วนมากจะมี 3 สี สีแดง สีขาว และแดงดำขาว

การขยายพันธุ์ปลาอะไรก็ตาม สำคัญที่สุดคือ ต้องเลือกดูความสมบูรณ์ของพ่อ-แม่พันธุ์เป็นหลัก จะต้องนำจุดเด่นของปลา พ่อ-แม่พันธุ์มาเสริมกันและกัน โดนจะเน้นโครงสร้างของปลาเป็นหลัก ซึ่งจะต้องมีการคัดเลือกพ่อ-แม่พันธุ์

การคัดเลือกปลาพ่อ-แม่พันธุ์ที่ดี ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้

1. ใบหน้า หรือรูปทรงส่วนหัว ควรเลือกปลาที่มีหน้าเล็กๆ เรียว มน สมส่วนกับลำตัว หรือที่เรียกกันว่า หน้าหวาน เอาไว้ก่อน
พ่อพันธุ์ที่ดี รูปทรงกว้าง สีสด หน้าสั้น
แม่พันธุ์ที่ดี หน้าเล็กหวาน รูปทรงกว้างมาร์คกิ้งดี หางใหญ่
2. สำคัญทีสุด คือ ลำตัวต้องกว้าง โดยนับจากสันหลังถึงช่วงท้อง เมื่อมองแล้วต้องเหมือนรูปไข่ตั้ง หรือที่เรียกว่า ฐานตัวเปิด สันหลัง หรือโหนกอ้วน หนา ไม่คดงอ ท้องกลมไม่บุ๋ม หรือบวมผิดปกติ

3. เกล็ด เรียงตัวกันเป็นระเบียง เงางาม

4. ครีบหลัง หรือกระโดง ก้านครีบต้องกางแข็ง ชี้ตรง ไม่หักคด หรือหงิกงอ

5. ครีบอกและครีบท้อง ก้านครีบกางแข็งไม่หักคด และไม่หงิกงอเช่นเดียวกับครีบหลัง

6. ครีบหางหรือกกหาง ต้องใหญ่แสดงถึงพละกำลังในการว่ายน้ำ ใบหางแผ่กว้างเวลาว่าย หรืหยุดลอยตัว จะกางออกดูสวยงามพริ้วไหว ก้านหางหรือเส้นหางต้องเรียงชิดถี่ ความยาวของหางแล้วแต่ความชอบ

7. สีสัน-ลวดลาย พยายามเลือกพ่อ-แม่พันธุ์ที่มีลวดลาย หรือมาร์คกิ้งที่สวย สีสดเข้มไว้ก่อน


วิธีการเช็คความพร้อมของพ่อ-แม่พ่อพันธุ์

-ง่ายที่สุดก็ต้องจับพ่อปลาแม่ปลามาเช็คดู ถ้าปลาเพศเมียจะเริ่มไข่ ให้จับปลาหงายท้องแล้วกดดูบริเวณท้อง ให้สังเกตุได้ว่าท้องจะนิ่ม ท่อรังไข่จะเปิด นั่นคือ ปลาพร้อมที่จะผสมพันธุ์

-ส่วนตัวผู้ ก็ลองจับดูที่บริเวณครีบว่าย หรือครีบหู จะมีเม็ดขาวเล็กๆ ขึ้นเรียงเป็นแถว และเมื่อจับปลาหงายท้องขึ้น แล้วลองใช้นิ้วรีดดูบริเวณท้องไปจนถึงเดือยเพศ จะเห็นมีน้ำเชื้อสีขาวขุ่นไหลออกมา นั่นแสดงว่าปลาพร้อมที่จะผสมพันธุ์

ขั้นตอนการผสมเทียม

จับปลาตัวผู้ที่พร้อมจะผสมพันธุ์มาทำการรีดน้ำเชื้อ โดยใช้นิ้วค่อยๆรีดกดจากหน้าอกไล่ไปตามท้องจนถึงช่องเพศ น้ำเชื้อของตัวผู้จะค่อยๆหลลงสู่กะละมังที่เราเตรียมไว้
จากนั้นนำปลาริวกิ้นตัวเมีย มารีดไข่โดยใช้นิ้วรีดไปตามส่วนท้องของตัวเมีย จนไข่ไหลออกมาลงสู่กะละมัง ที่เราเตรียมน้ำเชื้อตัวผู้ไว้ ช่วงนี้เราสามารถกำหนดการติดลูกชองปลาครอกนี้ได้ เราต้องการให้ติดลูกเท่าไร อยากให้ติดมากก็รีดมาก ครอกหนึ่งสำหรับแม่พันธุ์ที่สมบูรณ์สามารถรีดไข่ได้ 5,000-10,000 ฟองทีเดียว
หลังจากรีดน้ำเชื้อและลงไปผสมในกะละมัง เราก็สบัดให้ไข่กระจายออกไม่ให้ติดกัน เพื่อให้น้ำเชื้อผสมับไข่ได้เต็มที่
เตรียมอ่างสะอาดทิ้งไว้ แล้วเปลี่ยนน้ำลงไป โดยใช้น้ำเก่าที่รองพักไว้เติมลงอ่างให้เต็ม เอากะละมังไปตั้งไว้ในอ่าง อย่าให้น้ำเน่าเสีย ใช้เวลา 3 วัน ไข่ก็ฟักเป็นตัว
 เพื่อนๆครับ เทคนิคง่ายๆของการผสมเทียมของปลาริวกิ้ว คนชอบปลา อยากให้เพื่อนๆลองทำดูนะครับรับรองว่าได้ผลดี ไม่แพ้การผสมแบบธรรมชาติอย่างแน่นอนครับ...

ปลาหมอสี เพอร์ซี่(Herlchthys Pearsel )

เพื่อนๆครับ เวลาหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา กระแสความนิยมก็จะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย แต่มีสิ่งหนึ่งในวงการปลาหมอที่ยังเดิมๆ นั่นได้แก่  เจ้าปลาหมอสีทองท้องน้ำตาล เพอร์ซี่

ปลาหมอเพอร์ซี่
ชื่อวิทยาศาสตร์   Herlchthys Pearsel
แหล่งกำเนิด  อยู่ทางตอนใต้ของประเทศเม็กซิโก และทางตอนเหนือของประเทศกัวเตมาลา ในลุ่มแม่น้ำอุซุมาซินต้า และแม่น้ำ ตูลิจา
ลักษณะโดยทั่วไป
- Pearsei เป็นปลาตัวหนึ่งที่อยู่ในกลุ่ม Genus Herichtys  มีลักษณะกว้างลึก ช่วงลำตัวจะมีสีเหลืองสว่างสดใสเหมือนผิวมะนาว แตกต่างจากช่วงท้อง ซึ่งจะออกเป็นสีน้ำตาลเข้มจัด เกล็ดในบริเวณช่วงท้องหรือบริเวณพุงปลา ตามแนวขอบจะเป็นเส้นสีดำตัดชัดเจน และมีแถบสีเหลืองแวววาวเล็กน้อย ส่วนโครงสร้างของเกล็ดจะโค้งมนเป็นครึ่งวงกลม บริเวณครีบอกจะมีจุดเล็กๆกระจายอยู่เล็กน้อย บริเวณครีบชายน้ำบนล่างจะมีสีออกไปทางเทาดำ และมีสีฟ้าแซมอยู่ตามชายน้ำการจับคู่ผสมพันธุ์
- การเข้าคู่ค่อนข้างยาก กัดกันรุนแรงถึงขั้นตาย แต่ถ้าเป็นสายพันธุ์อื่นจะไม่กัดมาก ส่วนใหญ่การเพาะปลาหมอตัวนี้จะติดลูกยาก สาเหตุหนึ่งอาจจะมาจากการผิดน้ำ
การวางไข่
- วางไข่กับพื้นแข็ง เฝ้าไข่และดูแลลูกอ่อน
อาหาร
- Pearsei เป็นปลากินพืช อาหารส่วนใหญ่ที่แนะนำ คือ เมล็ดสาหร่ายสไปรูลิน่า 10% หนอนนก หรือหนอนแดง ส่วนกุ้งฝอยก็สามารถให้กินได้เหมือนกัน แต่ดูเจ้า Pearsei จะโปรดปรานหนอนนกมากที่สุด
การเลี้ยง Pearsei
- Pearsai  เป็นปลาหมอที่มีขนาดใหญ่มาก มีขนาดโตเต็มที่ 40 cm. ตู้ที่เลี้ยงควรมีขนาดตั้งแต่ 48 นิ้วหรือ 350 ลิตรขึ้นไป ค่าph ก็อยู่ที่ 7.0-7.8 อุณหภูมิอยู่ที่ 26-30 องศา ส่วนแหล่งที่อยู่อาศัยนั้นเจ้า Pearsei ก็จัดเป็นปลาหมออีกตัวหนึ่งที่ชอบอาศัยอยู่ตามขอนไม้ และบริเวณที่มีพันธุ์ไม้น้ำอุดมสมบูรณ์
เพื่อนๆครับถึงแม้เจ้าปลา Pearsei จะไม่นิยมเท่ากับปลา Cross Breed แต่เจ้าเพอร์ซี่ก็มีความสวยแบบเป็นธรรมชาติซึ่งสีไม่ฉูดฉาดมากนัก ซึ่งคนชอบปลาก็คิดว่าเพื่อนๆบางคน อาจจะชอบในความเป็นธรรมชาติแบบคงเดิม นะครับ....

อาหารและการให้อาหารปลาตู้


สวัสดีครับในฉบับนี้เราก็จะมาคุยกันถึงเรืองอาหารและการให้อาหารปลาตู้ครับ
อาหารปลาตู้ การให้อาหารปลาที่เลี้ยงในตู้กระจกเป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับผู้เลี้ยงปลาตู้ที่จะต้องให้ความสำคัญและสนใจ ซึ่งเราจะแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

       1. กลุ่มอาหารเป็น ได้แก่ สัตว์เล็กๆ ที่มีชีวิต และใช้เป็นอาหารได้ เช่น
          ไรแดง เป็นสัตว์น้ำขนาดเล็กมีสีแดงพบมากในน้ำครำหรือคูน้ำโดยใช้สวิงตาถี่ ช้อนตามผิวน้ำในตอนเช้า และมีจำหน่ายตามร้านขายปลาตู้เป็นอาหารที่เหมาะกับปลาสวยงามขนาดเล็ก

          ลูกน้ำ เป็นตัวอ่อนของยุง พบได้ทั่วไปตามแหล่งน้ำขังต่างๆ จับได้โดยใช้สวิงตาถี่ช้อนตักตามผิวน้ำ ซึ่งลูกน้ำลอยตัวอยู่

          หนอนแดง เป็นตัวอ่อนของริ้นน้ำจืด มีสีแดง พบได้ทั่วไปตามพื้นที่ที่มีน้ำขังเป็นเวลานาน การจับต้องตักดินใส่ตะแกรงตาถี่และร่อนในน้ำสะอาดจนเศษดิน ผง หรือขยะหลุดออก ก็จะเห็นหนอนแดงค้างอยู่ ร้านขายปลาตู้มักจะนำมาขายโดยใส่ไว้ภาชนะที่มีน้ำใส

          กุ้งฝอย เป็นกุ้งน้ำจืดที่มีขนาดเล็ก พบอยู่ตามบ่อ สระน้ำ หรือตามท้องนา มีจำหน่ายตามท้องตลาดสด เป็นอาหารที่เหมาะกับปลาตู้ขนาดใหญ่ที่เป็นปลาประเภทกินเนื้อสัตว์

          ไส้เดือนดิน เป็นอาหารที่เหมาะกับปลาตู้ชนิดหนึ่ง ถ้าเป็นไส้เดือนขนาดใหญ่ ก่อนให้ปลาควรสับให้เป็นชิ้นที่มีขนาดพอเหมาะก่อนจึงใช้เป็นอาหารปลา

           ตัวอ่อนหรือดักแด้ ของแมลงอีกหลายชนิด ก็สามารถนำมาใช้เป็นอาหารปลาตู้ได้

       2. กลุ่มอาหารแห้ง เป็นอาหารสำเร็จรูปที่ผลิตขึ้นมาด้วยกรรมวิธีต่างๆ โดยใช้วัสดุต่างๆ จากผลิตผลทางการเกษตรหลายๆ ชนิดและทำให้เป็นอาหารที่มีคุณค่าตรงกับความต้องการของปลาที่มีรูปแบบต่างๆ กัน เช่น
           ชนิดเม็ดจม เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะค่อนข้างกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางของเม็ดแตกต่างกันไปตามชนิดและขนาดปลา แต่ว่าจะจมน้ำเหมาะสำหรับปลาตู้ที่หากินตามพื้นผิวดิน อาหารชนิดเม็ดจนได้มีการพัฒนา จนมีคุณสมบัติพิเศษ สามารถยึดติดหรือแตะไว้ข้างฝาตู้เป็นเวลานานและปลาจะมารุมกินหรือตอดกินอาหารประเภทนี้เป็นฝูงๆ
           ชนิดเม็ดลอย เป็นผลิตภัณฑ์เช่นเดียวกับเม็ดจมน้ำ แต่มีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถลอยน้ำได้ และคงสภาพรูปเดิมอยู่ในน้ำได้เป็นเวลานาน ส่วนใหญ่เป็นอาหารสำหรับปลารุ่น หรือปลาใหญ่
           ชนิดผง เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นผงเล็กๆ มีขนาดไล่เลี่ยกับขนาดของนมผง ละลายน้ำได้ดี ส่วนใหญ่ทำจากสาหร่ายเกลียวทองหรือจากไข่เวลาใช้ก็โดยการนำเอาอาหารผงมาละลายน้ำและใส่ลงตู้ให้ลูกปลากิน เป็นอาหารที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับลูกปลาวัยอ่อนโดยเฉพาะ ชนิดแผ่น เป็นผลิตภัณฑ์ที่ส่วนใหญ่ทำขึ้นจากไข่ หรือตัวของสัตว์ในตระกูลกุ้ง มีลักษณะเป็นแผ่นเล็กๆ ใช้มือบี้หรือขยี้อาหารชนิดนี้ให้เป็นชิ้นเล็กก่อนนำไปให้เป็นอาหารปลาตู้

        3. กลุ่มผักสด หมายถึง พรรณไม้น้ำหรือผักบางชนิดที่จะใช้เป็นอาหารให้ปลาตู้ได้ ซึ่งโดยปกติแล้ว ปลาตู้ซึ่งเป็นปลากินเนื้อและพืชชอบกินพวกผักและปลาบางชนิดก็ต้องการอาหารที่มีผักสดผสมอยู่เป็นประจำ พวกพืชสดที่นิยมใช้ ได้แก่ ถั่วงอก ถั่วหัวโต ผักกาดหอม กะหล่ำปลี ผักกาดขาด ผักบุ้ง แหนเป็ด

การให้อาหารปลาตู้
      ปลาตู้ก็เหมือนสัตว์อื่นๆ ที่ต้องการอาหารเพื่อการเจริญเติบโตและการเจริญพันธุ์ การให้อาหารที่ดีและถูกวิธีจะบรรลุถึงความต้องการของผู้เลี้ยงซึ่งก็คือปลามีสุขภาพดี แข็งแรง สีสดใส ทำให้ผู้เลี้ยงมีความสุข ก่อนอื่นเราจะต้องทำความเข้าใจก่อนว่าปลาที่เลี้ยงเป็นปลาชนิดอะไร ประเภทไหนเพราะเราสามารถแบ่งปลาออกเป็น 3 ประเภท คือ ปลากินเนื้อ ปลากินเนื้อและพืช และปลากินพืช ซึ่งทั้ง 3 ประเภทนี้จะมีความต้องการอาหารแตกต่างกันไป ดังนี้
         1. ปลากินเนื้อ เป็นปลาที่ชอบกินอาหารเป็น ถ้าเราเลี้ยงโดยอาหารอื่นๆ มักจะหงอยซึม มีสุขภาพไม่ดี และอาจตายในที่สุด อาหารที่ให้แต่ละครั้งจึงควรให้อาหารเป็นและมีจำนวนมากพอที่จะกินอิ่มในครั้งเดียว ให้อาหารเพียงครั้งเดียวใน 1 วัน และงดอาหาร 1 วัน เมื่อเลี้ยงไปได้ 3-4 วัน
         2. ปลากินเนื้อและพืช เป็นปลาที่ยอมรับอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารแห้งได้ดี ให้อาหารวันละ 1-2 ครั้ง แต่ควรเสริมด้วยอาหารผักสดบ้างเป็นครั้งคราว ประมาณเดือนละ 2 ครั้ง จะทำให้ปลามีสุขภาพดี
         3. ปลากินพืช เป็นปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปได้ดี และอาหารนั้นควรมีส่วนผสมของผลิตภัณฑ์จากพืช การให้อาหารควรให้วันละ 1-2 ครั้ง โดยฝึกให้ปลากินอาหารซ้ำที่เดิมทุกครั้ง ซึ่งจะทำให้ปลาเคยชินโดยเฉพาะปลาที่กินอาหารช้าจะสามารถเรียนรู้ตำแหน่งอาหารที่กินได้ การให้อาหารแห้งหรืออาหารผักสดนั้น ผู้เลี้ยงจะต้องพึงระลึกได้เสมอว่าอาหารที่ให้เหล่านี้หากปลากินไม่หมดจะเหลือตกค้างอยู่ในตู้ และเน่าเสีย เป็นเหตุให้คุณสมบัติของน้ำในตู้ไม่ดี ส่งผลต่อสุขภาพของปลาเป็นอย่างยิ่ง จึงควรระมัดระวังอย่าให้อาหารมากเกินไป

วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การจัดตู้ปลา สำหรับ เลี้ยงปลาหมอสี

สวัสดีครับในฉบับนี้เราก็มาคุยกันเรือ่งของการจัดตู้ปลาสำหรับเรื่องปลาหมอสีกันดีกว่านะครับ

องค์ประกอบของการ จัดตู้ปลา
ตู้ปลา ที่นิยมมี 2 แบบ
1.แบบทรงกลม
2.ตู้ปลาแบบสี่เหลี่ยม ซึ่งมี 2 ลักษณะคือ
- ตู้ปลาแบบมีกรอบ เป็นตู้ปลาแบบรุ่นเก่าทำด้วยกรอบอลูมิเนียมใช้ชันอุดตามรอยรั่วกันน้ำรั่วซึม
- ตู้ปลาแบบไม่มีกรอบ นำกระจกมาต่อกันโดยใช้กาาวซิลิโคนเป็นตัวประสานเข้าด้วยกัน
2.ฝาปิดตู้ปลา
ทำด้วยพลาสติก ช่วยป้องกันการระเหยของน้ำและป้องกันฝุ่นละอองจากภายนอก
3.เครื่องปั๊มอากาศ
การใช้เครื่อง ปั๊มอากาศ
- ควรติดตังให้สูงกว่าตัวปลา เพื่อให้สะดวกในการดันอากาศ
- การติดตั้งเครื่องปั๊มอากาศ ควรให้ห่างจากฝุ่นละออง เพราะฝุ่นละอองอาจทำให้เสียหายได้
อุปกรณ์ที่ติดมากับเครื่องปั๊มอากาศ
- สายออกซิเจน ต้องหาและไม่มีรอยรั่ว
- หัวทราย มีลักษณะเป็นทรงกลม มีรูพรุน ทำหน้าที่ให้อากาศเป็นฟองฝอยเล็กๆ เพื่อให้ออกซิเจนสามรถละลายน้ำได้ดี
3.ข้อต่อ เป็นตัวแยกอากาศจากเครื่องปั๊มไปในทิศทางที่ต้องการ
4.วาวล์ควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณอากาศที่ออกมาจากเครื่องปั๊ม ให้ออกมาตามความเหมาะสม
5.ระบบการกรองน้ำ มี 2 แบบ คือ
- ระบบการกรองภายในตู้ปลา
- แบบกรองน้ำใต้ทราย
ส่วนประกอบ
แผ่นกรอง ต้องเหมาะกับลักษณะของตู้ปลา มีรูพรุนเล็กๆ สูงจากพื้ตู้ประมาณ 2-3 ซ.ม.
ท่อส่งน้ำ ทำงานร่วมกับแผ่นกรอง สามารถปรับทิศทางของน้ำที่พ่นออกมาให้ได้ตามต้องการได้
สายอากาศ เป็นสายทางเดินอากาศที่ต่อมาจากท่อปั๊ม
ระบบการทำงาน
เครื่องปั๊มอากาศจะอัดอากาศส่งไปตามสายอากาศที่เชื่อมระหว่างเครื่องปั๊มอากาศกับหัวครอบแผ่นกรองใต้ทราย เมื่ออากาศถูกดันออกมาตามท่อส่งน้ำที่ถูกพ่นออกมาจะไหลเวียนเข้าไปอยู่ใต้แผ่นกรอง ขณะเดียวกันน้ำที่อยู่เหนือแผ่นกรองและพวกสิ่งสกปรกก็จะถูกดูดลงไปแทนที่ ทำให้น้ำใสสะอาดอยู่เสมอ
- ระบบการกรองแบบกล่องใต้ตู้ ไม่เป็นที่นิยมมากนัก การทำงานคล้ายระบบการกรองน้ำใต้ทราย ต่างกันเพียงระบบการกรองจะมีกล่องแยกต่างหาก ภายในกล่องกรองจะใส่ใยแก้วและถ่านคาร์บอน ข้อดีก็คือ สามารถถอดล้างทำความสะอาดได้ด้วย
- ระบบการกรองภายนอกตู้ปลา ประสิทธิภาพในการกรองจะเหนือกว่าระบบการกรองที่กล่าวมาแล้ว สามารถกรองเศษอาหารปลา มูลปลา กลิ่น สี ออกนอกตู้ปลาได้ดี อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กรอง คือ ถ่านคาร์บอน และใยแก้ว
กรวด เป็นวัสดุที่ตกแต่งให้ตู้ปลาดูเป็นธรรมชาติ กรวดที่ควรมีขนาด 3 มม. ไม่ควรละเอียดและหยาบเกินไป
ควรใช้น้ำกรองหรือน้ำประปาที่ผ่านการกับไว้เพื่อให้คลอรีนระเหยออกไป

สำหรับ ส่วนประกอบ อื่น ไม่เหมาะ กับ การ เลี้ยงหมอสี อาทิเช่น ต้นไหม้ ตอ ของประดับ ตู้ปลาอื่น ๆ มีเพียงแต่ ตู้ และ ก้อนหิน ไว้ให้คาบเล่น หรือ พ่น ก็พอ

ถ้าเอาแบบตู้เดียวเลี้ยงชั่วชีวิตเลยควรจะเลือกตู้ขนาดที่ไม่ต่ำกว่า 36 นิ้วขึ้นไป ถ้าได้48หรือ60นิ้วไปเลยยิ่งดีแต่ถ้าหากจะเลี้ยงแบบค่อย ๆ ขยับขยายกันไปขนาดโดยประมาณ คร่าวๆระหว่าง ตัวปลากับขนาดของตู้คือปลาต่ำกว่า 4 นิ้ว = ตู้ 24 นิ้ว / ปลาขนาด4-7 นิ้ว = ตู้30-36 นิ้ว-/ปลาขนาดใหญ่เกิน 7นิ้ว=ตู้36 นิ้วขึ้น ไปหากเลือกแบบแรก คือตู้ใหญ่ไปเลย ทีเดียวแต่หาก ต้องการ ขยับขยาย ตู้ปลาตามไซส์ปลา ต้องพึ่งด้วยว่าอัตราการเจริญเติบโตเท่าไร น้ำคือสิ่งสำคัญมากที่สุดในการเลี้ยงปลา นอกจากที่เราจะดูแลปลาแล้วเราต้องดูแลน้ำเพราะ100%
ชีวิตปลาต้องอาศัยอยู่ในน้ำน้ำเลยเป็นสิ่งสำคัญที่ปลาขาดไม่ได้ในเมื่อน้ำคือสิ่งที่จะต้องอยู่คู่กับปลาแล้วน้ำที่เหมาะ สมที่สุดในการเลี้ยงคือ น้ำก๊อกหรือน้ำประปาแต่ต้องเป็นน้ำประปาที่ไมมี่คลอรีนเท่านั้นวิธีการลดคลอรีน แค่หาภาชนะอะไรก็ได้สำหรับกักน้ำไว้ในปริมาณที่เราต้องการวางไว้ในที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวกปล่อยทิ้ง ไว ้2-3 วัน คลอรีนก็ระเหยไปหมด (ใช้เวลาระเหยนานแค่ไหนอยู่ที่ ปริมาณการใส่คลอรีน จากต้นทาง แต่บ้านที่อยู่ใกล้คลองประปาส่วนใหญ่คลอรีนจะเยอะ) ถ้าอยากให้ระเหยเร็วขึ้นอีก ก็หาปั๊มลม สำหรับใส่ตู้ปลาพร้อมกับเปิดหัวทรายแรงๆทิ้งไว้ในน้ำซัก 1 - 2 วัน คลอรีนก็ จะหายหมด ส่วนวิธีที่เร็วขึ้นอีกคือการใช้สารเคมีมาช่วยลดคลอรีนในน้ำ
สารเคมีที่มีวางขายทั่วไปตามท้องตลาดจะมีหลักๆ2ประเภทคือ น้ำยาคลอรีน และ เกล็ดคลอรีน ซึ่งก็สามารถนำมาใช้ได้ทั้ง2ชนิด แบบเกล็ดจะมีราคาถูกกว่าก็จริงแต่ถ้าใส่ไม่เป็นนอกจากน้ำจะเป็นสีขุ่น หรือเกิดฟองแบบผิดปกติในตู้แล้วปลาก็อาจจะมีอาการลอยคอและถึงตาย ได้
สำหรับมือใหม่อยากจะแนะนำให้ใช้สารลดคลอรีนแบบน้ำเพื่อที่จะดูปริมาณการใส่จากข้างขวดได้เลยใช้ง่ายแล้วก็สะดวก วิธีใช้ก็แค่ใส่ลง ไปขณะกำลังเติมน้ำใหม ่ เข้าตู้เปิดปั๊มลมหรือเปิดกรองเดินน้ำไว้ ซัก 5-10 นาทีก็ใช้ได้แล้ว